การที่จำเลยฆ่าผู้ตายแล้วปลอมจดหมายส่งถึงผู้บังคับบัญชาของผู้ตายว่าผู้ตายขอลากิจ จากนั้นได้ปลอมจดหมายส่งไปถึงบุตรของผู้ตายว่าผู้ตายต้องไปฝึกสมาธิ กรณีดังกล่าว บิดาของผู้ตายจะเข้าจัดการแทนผู้ตายในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมได้หรือไม่
การที่จำเลยฆ่าผู้ตายแล้วปลอมจดหมายส่งถึงผู้บังคับบัญชาของผู้ตายว่าผู้ตายขอลากิจ จากนั้นได้ปลอมจดหมายส่งไปถึงบุตรของผู้ตายว่าผู้ตายต้องไปฝึกสมาธิ กรณีดังกล่าว บิดาของผู้ตายจะเข้าจัดการแทนผู้ตายในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมได้หรือไม่
401 Views
ย้อนเวลากลับไปหลายปีก่อน มีคดีฆาตกรรมซ่อนเงื่อนสะเทือนขวัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชนคดีหนึ่ง เพราะจำเลยได้ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในการทางแพทย์มาจัดการฆ่าและชำแหละภริยาของตัวเองอย่างแยบยล ยิ่งไปกว่านั้น คดีนี้เป็นคดีที่มีหลักกฎหมายอย่างมากมาย และมีปัญหาที่น่าสนใจอยู่ประการหนึ่งคือ การที่จำเลยฆ่าผู้ตายแล้วปลอมจดหมายส่งถึงผู้บังคับบัญชาของผู้ตายว่าผู้ตายขอลากิจ จากนั้นได้ปลอมจดหมายส่งไปถึงบุตรของผู้ตายว่าผู้ตายต้องไปฝึกสมาธิ กรณีดังกล่าว บิดาของผู้ตายจะเข้าจัดการแทนผู้ตายในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมได้หรือไม่
ความผิดฐานปลอมเอกสารและฐานใช้เอกสารปลอม เป็นความผิดต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของผู้ที่ปลอมและใช้เอกสารปลอม แม้จำเลยจะปลอมจดหมายของผู้ตายส่งไปถึงผู้บังคับบัญชาของผู้ตายว่าผู้ตายขอลากิจ และได้ปลอมจดหมายของผู้ตายส่งไปถึงบุตรของผู้ตายว่าผู้ตายต้องไปฝึกสมาธิ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารปลอมนั้นผู้ตายได้ทำขึ้นจริง ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็ตาม ในกรณีนี้บิดาของผู้ตายก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) ทั้งความผิดได้เกิดขึ้นภายหลังจากผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ตายไม่อาจเป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวได้ จึงไม่ใช่กรณีที่บุพการีของผู้ตายจะจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5(2)
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236-2237/2550)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ความผิดฐานปลอมเอกสารและฐานใช้เอกสารปลอม เป็นความผิดต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของผู้ที่ปลอมและใช้เอกสารปลอม แม้จำเลยจะปลอมจดหมายของผู้ตายส่งไปถึงผู้บังคับบัญชาของผู้ตายว่าผู้ตายขอลากิจ และได้ปลอมจดหมายของผู้ตายส่งไปถึงบุตรของผู้ตายว่าผู้ตายต้องไปฝึกสมาธิ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารปลอมนั้นผู้ตายได้ทำขึ้นจริง ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็ตาม ในกรณีนี้บิดาของผู้ตายก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) ทั้งความผิดได้เกิดขึ้นภายหลังจากผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ตายไม่อาจเป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวได้ จึงไม่ใช่กรณีที่บุพการีของผู้ตายจะจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5(2)
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236-2237/2550)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ