ข้อความในพินัยกรรมตีความได้เป็นหลายนัยกับการขอนำสืบพยานบุคคล
ข้อความในพินัยกรรมตีความได้เป็นหลายนัยกับการขอนำสืบพยานบุคคล
55 Views

- พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้ายซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่าง ๆ ของผู้ทำพินัยกรรมเพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย โดยทำตามแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 แบบคือ พินัยกรรมแบบธรรมดา พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ พินัยกรรมที่ทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมที่ทำเป็นเอกสารลับ และพินัยกรรมที่ทำด้วยวาจา มีคำถามว่า หากข้อความในพินัยกรรมระบุแต่เพียง “บ้าน” แต่ไม่ระบุถึงที่ดินที่บ้านนั้นตั้งอยู่ จะขอนำสืบพยานบุคคลว่าพินัยกรรมครอบคลุมถึงที่ดินที่บ้านนั้นตั้งอยู่ด้วยได้หรือไม่
- ป.วิ.พ.มาตรา 94 มีหลักว่า “เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี (ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง (ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด” ตามปัญหา การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้รับพินัยกรรมโดยระบุรายการทรัพย์สินแต่เพียง “บ้าน” โดยไม่ระบุถึงที่ดินที่บ้านนั้นตั้งอยู่ บ้านจะหมายความรวมถึงที่ดินที่บ้านตั้งอยู่ด้วยหรือไม่ เป็นกรณีที่ความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมอาจตีความได้เป็นหลายนัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1684 ซึ่งมีหลักว่า “เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมอาจตีความได้เป็นหลายนัย ให้ถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นได้ดีที่สุด” กรณีดังกล่าว ผู้รับพินัยกรรมจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบถึงความประสงค์ของผู้ตายได้ ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร (พินัยกรรม) ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94..✍🏻
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2561)
# อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย
- ป.วิ.พ.มาตรา 94 มีหลักว่า “เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี (ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง (ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด” ตามปัญหา การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้รับพินัยกรรมโดยระบุรายการทรัพย์สินแต่เพียง “บ้าน” โดยไม่ระบุถึงที่ดินที่บ้านนั้นตั้งอยู่ บ้านจะหมายความรวมถึงที่ดินที่บ้านตั้งอยู่ด้วยหรือไม่ เป็นกรณีที่ความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมอาจตีความได้เป็นหลายนัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1684 ซึ่งมีหลักว่า “เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมอาจตีความได้เป็นหลายนัย ให้ถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นได้ดีที่สุด” กรณีดังกล่าว ผู้รับพินัยกรรมจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบถึงความประสงค์ของผู้ตายได้ ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร (พินัยกรรม) ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94..✍🏻
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2561)
# อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย