คดีความผิดต่อส่วนตัว หากผู้เสียหายร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว ต่อมาฟ้องคดีเองในภายหลังเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน คดีจะขาดอายุความหรือไม่
คดีความผิดต่อส่วนตัว หากผู้เสียหายร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว ต่อมาฟ้องคดีเองในภายหลังเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน คดีจะขาดอายุความหรือไม่
481 Views
การกระทำความผิดทางอาญาแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดต่อส่วนตัว (ความผิดที่ยอมความกันได้) การร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัว เช่น หมิ่นประมาท ยักยอก หรือฉ้อโกงนั้น หากผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีก็เป็นอันขาดอายุความ จึงมีคำถามว่า คดีความผิดต่อส่วนตัว หากผู้เสียหายร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว ต่อมาฟ้องคดีเองในภายหลังเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน คดีจะขาดอายุความหรือไม่
ป.อ.มาตรา 95 มีหลักว่า “ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความ (1) 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี (2) 15 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปี (3) 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปีถึง 7 ปี (4) 5 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 เดือนถึง 1 ปี (5) 1 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น ทั้งนี้ ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน” และมาตรา 96 มีหลักว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้น ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความ” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว จะให้พนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นให้ก็ได้ หรือจะฟ้องคดีเองภายหลัง 3 เดือนดังกล่าวก็ได้ แต่ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายจะต้องฟ้องคดีนั้นก่อนครบกำหนดอายุความตามมาตรา 95 ดังนั้น หากฟ้องคดีในภายหลัง แต่ยังไม่พ้นอายุความตามมาตรา 95 คดีไม่ขาดอายุความ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2503, 771/2507 และ 1011/2532)
ป.อ.มาตรา 95 มีหลักว่า “ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความ (1) 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี (2) 15 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปี (3) 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปีถึง 7 ปี (4) 5 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 เดือนถึง 1 ปี (5) 1 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น ทั้งนี้ ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน” และมาตรา 96 มีหลักว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้น ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความ” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว จะให้พนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นให้ก็ได้ หรือจะฟ้องคดีเองภายหลัง 3 เดือนดังกล่าวก็ได้ แต่ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายจะต้องฟ้องคดีนั้นก่อนครบกำหนดอายุความตามมาตรา 95 ดังนั้น หากฟ้องคดีในภายหลัง แต่ยังไม่พ้นอายุความตามมาตรา 95 คดีไม่ขาดอายุความ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2503, 771/2507 และ 1011/2532)