ใครเป็นลูกหนี้ต้องอ่านบทความนี้ !!! เพื่อไม่ให้เสียเปรียบเจ้าหนี้
ใครเป็นลูกหนี้ต้องอ่านบทความนี้ !!! เพื่อไม่ให้เสียเปรียบเจ้าหนี้
383 Views
เดิมแอดมินไม่ได้ตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับการทวงหนี้ เนื่องจากเห็นว่ามีผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เยอะแล้ว แต่เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมามีกฎหมายฉบับใหม่ที่เพิ่งประกาศเกี่ยวกับอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ในการทวงถามหนี้ (จะมีผลใช้บังคับวันที่ 12 กันยายน 2564 เป็นต้นไป) ซึ่งเกี่ยวข้องกับลูกหนี้อย่างเราโดยตรง ดังนั้น หากไม่เขียนผู้ที่ติดตามเพจนี้ก็อาจจะตกขบวนรถไฟหรือพลาดข้อมูลสำคัญไป และเมื่อเขียนแล้วแอดมินจึงขอสรุปภาพรวมของกฎหมายฉบับนี้ในรูปแบบที่เราน่าจะสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้ครับ
ชื่อกฎหมาย: พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558
ประเภทของหนี้: หนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะถูกหรือผิดกฎหมาย รวมทั้งการกู้เงินในระบบและนอกระบบ
บุคคลที่เกี่ยวข้อง:
1. ผู้ทวงถามหนี้ (เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระ และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้ตามทางการค้าปกติ รวมทั้ง ผู้รับมอบอำนาจ ผู้ที่ซื้อหรือรับโอนหนี้ ไม่ว่าจะถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย)
2. ลูกหนี้ (ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา รวมถึงผู้ค้ำประกัน)
3. ธุรกิจทวงถามหนี้ (ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้ของทนายความซึ่งกระทำแทนลูกความ)
ข้อห้ามและวิธีปฏิบัติในการทวงหนี้:
1. ต้องติดต่อลูกหนี้ตามที่อยู่ที่ให้ไว้ (ทางบุคคล โทรศัพท์ หรืออีเมล) และห้ามทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่ ลูกหนี้ระบุให้ทวงถามไปยังบุคคลนั้นได้
2. ติดต่อได้เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-20.00 น. และวันหยุดราชการ เวลา 08.00-18.00 น. เท่านั้น
3. ติดต่อทวงถามหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง
4. ต้องรายงานตัวให้ลูกหนี้ทราบ (กรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจต้องแสดงหลักฐานด้วย)
5. ห้ามเปิดเผยข้อความที่เป็นหนี้ให้ผู้อื่นรู้ เว้นแต่ บุคคลนั้นเป็น สามี ภรรยา พ่อแม่ ลูก (ของลูกหนี้) (กรณีนี้แจ้งได้เท่าที่จำเป็นและเหมาะสมเท่านั้น)
6. ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย
7. ห้ามทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เช่น การหลอกถามข้อมูลติดต่อกับลูกหนี้จากบุคลอื่น
8. ห้ามข่มขู่ ประจาน หรือใช้ความรุนแรง
9. ห้ามพูดจาไม่สุภาพ หรือดูหมิ่น
10. ห้ามส่งเอกสารที่ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล หรือทนายความ
11. ห้ามทำให้ลูกหนี้เข้าใจว่าจะถูกดำเนินคดี ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ หรือเงินเดือน
12. ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับการทวงหนี้ เว้นแต่เป็นหนี้ของตนเอง สามี ภรรยา พ่อแม่ หรือลูก
13. หากผู้ทวงหนี้ฝ่าฝืน คณะกรรมการสามารถสั่งให้ระงับได้
อัตราโทษ: มีโทษทางปกครองและโทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้:
1. ไม่เกิน 50 บาท ต่อรอบการทวงหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระ 1 งวด
2. ไม่เกิน 100 บาท ต่อรอบการทวงหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระมากกว่า 1 งวด
3. หนี้ให้เช่าซื้อหรือลิสซิ่งรถยนต์ เรียกเก็บได้เพิ่มเติม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่ไม่เกิน 400 บาท ต่อรอบการทวงหนี้ และเฉพาะกรณีมีหนี้ค้างชำระมากกว่า 1 งวด
4. ห้ามเรียกเก็บ กรณีมีหนี้ค้างชำระสะสมไม่เกิน 1,000 บาท
สถานที่รับเรื่องร้องเรียนการทวงหนี้: สามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ ผ่านสถานีตํารวจ ที่ว่าการอําเภอ หรือที่ทําการปกครองจังหวัดก็ได้
ชื่อกฎหมาย: พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558
ประเภทของหนี้: หนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะถูกหรือผิดกฎหมาย รวมทั้งการกู้เงินในระบบและนอกระบบ
บุคคลที่เกี่ยวข้อง:
1. ผู้ทวงถามหนี้ (เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระ และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้ตามทางการค้าปกติ รวมทั้ง ผู้รับมอบอำนาจ ผู้ที่ซื้อหรือรับโอนหนี้ ไม่ว่าจะถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย)
2. ลูกหนี้ (ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา รวมถึงผู้ค้ำประกัน)
3. ธุรกิจทวงถามหนี้ (ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้ของทนายความซึ่งกระทำแทนลูกความ)
ข้อห้ามและวิธีปฏิบัติในการทวงหนี้:
1. ต้องติดต่อลูกหนี้ตามที่อยู่ที่ให้ไว้ (ทางบุคคล โทรศัพท์ หรืออีเมล) และห้ามทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่ ลูกหนี้ระบุให้ทวงถามไปยังบุคคลนั้นได้
2. ติดต่อได้เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-20.00 น. และวันหยุดราชการ เวลา 08.00-18.00 น. เท่านั้น
3. ติดต่อทวงถามหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง
4. ต้องรายงานตัวให้ลูกหนี้ทราบ (กรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจต้องแสดงหลักฐานด้วย)
5. ห้ามเปิดเผยข้อความที่เป็นหนี้ให้ผู้อื่นรู้ เว้นแต่ บุคคลนั้นเป็น สามี ภรรยา พ่อแม่ ลูก (ของลูกหนี้) (กรณีนี้แจ้งได้เท่าที่จำเป็นและเหมาะสมเท่านั้น)
6. ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย
7. ห้ามทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เช่น การหลอกถามข้อมูลติดต่อกับลูกหนี้จากบุคลอื่น
8. ห้ามข่มขู่ ประจาน หรือใช้ความรุนแรง
9. ห้ามพูดจาไม่สุภาพ หรือดูหมิ่น
10. ห้ามส่งเอกสารที่ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล หรือทนายความ
11. ห้ามทำให้ลูกหนี้เข้าใจว่าจะถูกดำเนินคดี ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ หรือเงินเดือน
12. ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับการทวงหนี้ เว้นแต่เป็นหนี้ของตนเอง สามี ภรรยา พ่อแม่ หรือลูก
13. หากผู้ทวงหนี้ฝ่าฝืน คณะกรรมการสามารถสั่งให้ระงับได้
อัตราโทษ: มีโทษทางปกครองและโทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้:
1. ไม่เกิน 50 บาท ต่อรอบการทวงหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระ 1 งวด
2. ไม่เกิน 100 บาท ต่อรอบการทวงหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระมากกว่า 1 งวด
3. หนี้ให้เช่าซื้อหรือลิสซิ่งรถยนต์ เรียกเก็บได้เพิ่มเติม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่ไม่เกิน 400 บาท ต่อรอบการทวงหนี้ และเฉพาะกรณีมีหนี้ค้างชำระมากกว่า 1 งวด
4. ห้ามเรียกเก็บ กรณีมีหนี้ค้างชำระสะสมไม่เกิน 1,000 บาท
สถานที่รับเรื่องร้องเรียนการทวงหนี้: สามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ ผ่านสถานีตํารวจ ที่ว่าการอําเภอ หรือที่ทําการปกครองจังหวัดก็ได้