การที่ห้างสรรพสินค้าไม่แจกบัตรจอดรถให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการ แต่เปลี่ยนเป็นการใช้กล้องวงจรปิดแทน เมื่อรถหายจะปฏิเสธความรับผิดชอบได้หรือไม่
การที่ห้างสรรพสินค้าไม่แจกบัตรจอดรถให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการ แต่เปลี่ยนเป็นการใช้กล้องวงจรปิดแทน เมื่อรถหายจะปฏิเสธความรับผิดชอบได้หรือไม่
410 Views
หากพวกเราสังเกตจะพบว่า ปัจจุบันห้างสรรพสินค้าหลายแห่งได้มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการบริหารจัดการมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากนโยบายการลดต้นทุนในเรื่องค่าใช้จ่ายของพนักงาน แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะมาจากสาเหตุที่ห้างฯ มีความเสี่ยงที่จะต้องรับผิดชอบต่อการสูญหายของรถหากมีหลักฐาน และอาจเกิดประเด็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นการรับฝากรถหรือไม่ เพราะแม้จะมีข้อต่อสู้ว่าบัตรดังกล่าวได้ระบุข้อความไว้ว่า "ห้างสรรพสินค้าจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สินหรือสิ่งของมีค่าซึ่งอาจเกิดการสูญหาย" ไว้แล้วก็ตาม แต่ศาลก็ยังตีความว่า เอกสารดังกล่าว ห้างฯ เป็นผู้จัดทำขึ้นฝ่ายเดียว และไม่ปรากฏว่าลูกค้าได้ตกลงด้วยอย่างชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของห้างฯ แต่อย่างใด ข้อความในเอกสารจึงเป็นโมฆะ และห้างฯ ต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าอยู่ดี จึงมีคำถามว่า การที่ห้างสรรพสินค้าไม่แจกบัตรจอดรถให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการ แต่เปลี่ยนเป็นการใช้กล้องวงจรปิดแทน เมื่อรถหายจะปฏิเสธความรับผิดชอบได้หรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ป.พ.พ. มาตรา 420 ระบุว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” การที่ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้านั้น ย่อมต้องการให้มีลูกค้ามาซื้อสินค้าและใช้บริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อรายได้ของห้างฯ ห้างฯ ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่นๆ หรือไม่ แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8(9) และมาตรา 34 จะบัญญัติให้เจ้าของอาคารจะต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจรก็ตาม แต่ห้างฯ ยังต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง การที่ห้างฯ ยอมให้ลูกค้านำรถมาจอด จึงมีหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยของรถ การที่ห้างฯ เคยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่เข้ามาในห้างฯ ซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่าน กรณีจะนำรถออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของห้างฯ ก่อน แต่ขณะเกิดเหตุกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสียโดยใช้กล้องวงจรปิดแทน เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถของห้างฯ และโจรกรรมรถได้โดยง่ายยิ่งขึ้น โดยสภาพกล้องวงจรปิดเป็นเพียงอุปกรณ์บันทึกภาพรถเข้าออกเท่านั้น และแม้ห้างฯ จะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใดๆ รวมทั้งการที่ลูกค้าก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถ แต่ยังนำรถเข้ามาจอดก็ตาม เป็นเรื่องข้อกำหนดของห้างฯ แต่ฝ่ายเดียว เท่ากับห้างฯ งดเว้นหน้าที่ที่จะต้องดูแลรถของลูกค้า จึงไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการทำละเมิดของห้างฯ แต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7078/2560 และ 743/2561)
จากสถิติการแจ้งความในปัจจุบัน มีอัตรารถหายเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 1 คัน แอดมินจึงนำวิธีการป้องกันและแก้ไขเล็กน้อยมาฝากกันครับ
1 หากเลือกได้ เราควรเลือกจอดรถในที่ที่มีแสงสว่างส่องถึง และสามารถมองเห็นรถได้ง่าย
2 เมื่อต้องออกจากรถ ควรล็อกรถให้เรียบร้อยแล้ว และตรวจสอบว่าไม่ได้ทิ้งของมีค่าไว้ในรถ หากมีบัตรจอดรถ ต้องเก็บไว้กับตัวเสมอ
3 เมื่อลงจากรถแล้วควรถ่ายภาพรถให้ติดทั้งทะเบียนรถ และสถานที่จอดรถ เช่น เสา หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสถานที่ (ข้อนี้มีประโยชน์ที่จะช่วยให้เราไม่ลืมที่จอดรถได้ด้วยนะครับ)
4 หากรถหาย นอกจากโทรศัพท์บอกญาติ หรือเพื่อนแล้ว ให้รีบโทรแจ้งตำรวจที่สายด่วนรถหาย หมายเลข 1192 บริษัทประกันภัย และบริษัทไฟแนนซ์ รวมทั้งสถานีวิทยุต่างๆ เช่น จส. 100 หรือ ร่วมด้วยช่วยกัน สวพ 91 ตามลำดับ
5 หากยังไม่ได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการในห้างฯ ให้รีบกลับไปซื้อสินค้า เช่น น้ำหรืออาหาร และเก็บใบเสร็จไว้ เพื่อเป็นการสร้างหลักฐานในการมาห้างฯ ในวันดังกล่าว
ป.พ.พ. มาตรา 420 ระบุว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” การที่ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้านั้น ย่อมต้องการให้มีลูกค้ามาซื้อสินค้าและใช้บริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อรายได้ของห้างฯ ห้างฯ ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่นๆ หรือไม่ แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8(9) และมาตรา 34 จะบัญญัติให้เจ้าของอาคารจะต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจรก็ตาม แต่ห้างฯ ยังต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง การที่ห้างฯ ยอมให้ลูกค้านำรถมาจอด จึงมีหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยของรถ การที่ห้างฯ เคยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่เข้ามาในห้างฯ ซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่าน กรณีจะนำรถออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของห้างฯ ก่อน แต่ขณะเกิดเหตุกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสียโดยใช้กล้องวงจรปิดแทน เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถของห้างฯ และโจรกรรมรถได้โดยง่ายยิ่งขึ้น โดยสภาพกล้องวงจรปิดเป็นเพียงอุปกรณ์บันทึกภาพรถเข้าออกเท่านั้น และแม้ห้างฯ จะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใดๆ รวมทั้งการที่ลูกค้าก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถ แต่ยังนำรถเข้ามาจอดก็ตาม เป็นเรื่องข้อกำหนดของห้างฯ แต่ฝ่ายเดียว เท่ากับห้างฯ งดเว้นหน้าที่ที่จะต้องดูแลรถของลูกค้า จึงไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการทำละเมิดของห้างฯ แต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7078/2560 และ 743/2561)
จากสถิติการแจ้งความในปัจจุบัน มีอัตรารถหายเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 1 คัน แอดมินจึงนำวิธีการป้องกันและแก้ไขเล็กน้อยมาฝากกันครับ
1 หากเลือกได้ เราควรเลือกจอดรถในที่ที่มีแสงสว่างส่องถึง และสามารถมองเห็นรถได้ง่าย
2 เมื่อต้องออกจากรถ ควรล็อกรถให้เรียบร้อยแล้ว และตรวจสอบว่าไม่ได้ทิ้งของมีค่าไว้ในรถ หากมีบัตรจอดรถ ต้องเก็บไว้กับตัวเสมอ
3 เมื่อลงจากรถแล้วควรถ่ายภาพรถให้ติดทั้งทะเบียนรถ และสถานที่จอดรถ เช่น เสา หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสถานที่ (ข้อนี้มีประโยชน์ที่จะช่วยให้เราไม่ลืมที่จอดรถได้ด้วยนะครับ)
4 หากรถหาย นอกจากโทรศัพท์บอกญาติ หรือเพื่อนแล้ว ให้รีบโทรแจ้งตำรวจที่สายด่วนรถหาย หมายเลข 1192 บริษัทประกันภัย และบริษัทไฟแนนซ์ รวมทั้งสถานีวิทยุต่างๆ เช่น จส. 100 หรือ ร่วมด้วยช่วยกัน สวพ 91 ตามลำดับ
5 หากยังไม่ได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการในห้างฯ ให้รีบกลับไปซื้อสินค้า เช่น น้ำหรืออาหาร และเก็บใบเสร็จไว้ เพื่อเป็นการสร้างหลักฐานในการมาห้างฯ ในวันดังกล่าว