การที่มีบุคคลเรียกเก็บค่าที่จอดรถริมถนนสาธารณะ หากผู้ขับรถไม่ยอมจ่าย บุคคลดังกล่าวจึงแจ้งว่าจะต้องนำรถไปจอดที่อื่น มิฉะนั้นจะไม่รับประกันความปลอดภัยของรถ ผู้ขับรถจึงยอมจ่ายค่าที่จอด การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์หรือไม่
การที่มีบุคคลเรียกเก็บค่าที่จอดรถริมถนนสาธารณะ หากผู้ขับรถไม่ยอมจ่าย บุคคลดังกล่าวจึงแจ้งว่าจะต้องนำรถไปจอดที่อื่น มิฉะนั้นจะไม่รับประกันความปลอดภัยของรถ ผู้ขับรถจึงยอมจ่ายค่าที่จอด การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์หรือไม่
307 Views
ถนน ตรอก และซอกซอย ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทั้งยังถือเป็นทางสาธารณะสำหรับประชาชนใช้ในการจราจรตามคำนิยามของ ป.อ.มาตรา 1(2) อีกด้วย อย่างไรก็ดี การจอดรถริมถนนสาธารณะในที่ต่างๆ บางครั้ง เราอาจจะได้พบกับผู้ดูแลสถานที่แสดงตัวและขอเรียกเก็บค่าที่จอดรถ จึงมีคำถามว่า การที่มีบุคคลเรียกเก็บค่าที่จอดรถริมถนนสาธารณะ หากผู้ขับรถไม่ยอมจ่าย บุคคลดังกล่าวจึงแจ้งว่าจะต้องนำรถไปจอดที่อื่น มิฉะนั้นจะไม่รับประกันความปลอดภัยของรถ ผู้ขับรถจึงยอมจ่ายค่าที่จอด การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์หรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ความผิดฐานชิงทรัพย์มีหลักเกณฑ์ระบุอยู่ใน ป.อ. มาตรา 339 วรรค 1 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือ (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น หรือ (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ หรือ (4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ (5) ให้พ้นจากการจับกุม ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-10 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 -200,000 บาท” ส่วนความผิดฐานกรรโชกทรัพย์นั้นระบุอยู่ใน ป.อ.มาตรา 337 วรรค 1 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น แม้บุคคลดังกล่าวจะไม่มีอำนาจเรียกเก็บเงินค่าจอดรถจากผู้ขับรถก็ตาม แต่ก็มิได้มุ่งหมายขู่บังคับเอาเงินค่าจอดรถจากผู้ขับรถโดยตรงมาตั้งแต่แรก เพียงแต่ว่า หากผู้ขับรถไม่ให้ค่าที่จอดรถก็ต้องนำรถไปจอดที่อื่น หรือหากยืนยันจะจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุ บุคคลดังกล่าวจึงขู่เข็ญจะทำร้าย ซึ่งผู้ขับรถยังสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้เงินหรือไม่ก็ได้ หากไม่ให้เงินก็ต้องนำรถไปจอดที่อื่น มิฉะนั้นรถอาจจะได้รับความเสียหายตามที่ถูกข่มขู่ จึงเป็นการขู่โดยมีเงื่อนไข แต่มิได้มีเจตนาแย่งการครอบครองเงินของผู้ขับรถโดยตรง จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และไม่อาจเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้ แต่เป็นการข่มขืนใจผู้ขับรถให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินค่าจอดรถโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ขับรถจนผู้ขับรถยอมตาม จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539)
ความผิดฐานชิงทรัพย์มีหลักเกณฑ์ระบุอยู่ใน ป.อ. มาตรา 339 วรรค 1 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือ (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น หรือ (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ หรือ (4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ (5) ให้พ้นจากการจับกุม ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-10 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 -200,000 บาท” ส่วนความผิดฐานกรรโชกทรัพย์นั้นระบุอยู่ใน ป.อ.มาตรา 337 วรรค 1 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น แม้บุคคลดังกล่าวจะไม่มีอำนาจเรียกเก็บเงินค่าจอดรถจากผู้ขับรถก็ตาม แต่ก็มิได้มุ่งหมายขู่บังคับเอาเงินค่าจอดรถจากผู้ขับรถโดยตรงมาตั้งแต่แรก เพียงแต่ว่า หากผู้ขับรถไม่ให้ค่าที่จอดรถก็ต้องนำรถไปจอดที่อื่น หรือหากยืนยันจะจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุ บุคคลดังกล่าวจึงขู่เข็ญจะทำร้าย ซึ่งผู้ขับรถยังสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้เงินหรือไม่ก็ได้ หากไม่ให้เงินก็ต้องนำรถไปจอดที่อื่น มิฉะนั้นรถอาจจะได้รับความเสียหายตามที่ถูกข่มขู่ จึงเป็นการขู่โดยมีเงื่อนไข แต่มิได้มีเจตนาแย่งการครอบครองเงินของผู้ขับรถโดยตรง จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และไม่อาจเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้ แต่เป็นการข่มขืนใจผู้ขับรถให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินค่าจอดรถโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ขับรถจนผู้ขับรถยอมตาม จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539)