สำเนาใบเสร็จรับเงินถือเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ และความผิดฐานยักยอกสำเร็จลงเมื่อใด
สำเนาใบเสร็จรับเงินถือเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ และความผิดฐานยักยอกสำเร็จลงเมื่อใด
1211 Views
การที่ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่เก็บเงินจากลูกค้าและออกใบเสร็จรับเงินแล้วรวบรวมเงินที่เก็บได้ในแต่ละวันเพื่อส่งมอบให้แก่นายจ้างในช่วงเย็นทำการแก้ไขสำเนาใบเสร็จรับเงินให้มีจำนวนเงินน้อยกว่าเงินที่รับจริงแล้วยักยอกเงินส่วนที่เกินดังกล่าวรวม 2,009 ครั้งใน 1 ปี (248 วัน) ถือเป็นการปลอมเอกสารสิทธิหรือไม่ และเป็นความผิดฐานยักยอกรวมทั้งสิ้นกี่กรรม
คำว่า “เอกสารสิทธิ” ตาม ป.อ.มาตรา 1(9) หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามปัญหา สำเนาใบเสร็จรับเงินเป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าได้มีการออกต้นฉบับใบเสร็จรับเงินมีข้อความตรงกับสำเนาใบเสร็จเท่านั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ อันจะถือว่าเป็นเอกสารสิทธิแต่อย่างใด การปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับหนึ่งแล้วยักยอกเงินจำนวนที่เกินกว่าสำเนาใบเสร็จนั้นไว้ครั้งหนึ่ง ย่อมเป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งตั้งแต่เวลาที่ยักยอกเงินจำนวนนั้นแล้ว ส่วนการที่ลูกจ้างรวบรวมเงินในแต่ละวันเพื่อส่งมอบให้แก่นายจ้างในช่วงเย็นเป็นเพียงการปฏิบัติตามหน้าที่ของลูกจ้างเท่านั้น หาใช่เป็นการยักยอกเงินในตอนนั้นไม่ ลูกจ้างจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ.มาตรา 264 รวม 2,009 กรรม
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2526)
# จำนวนวันทำงานจริงของลูกจ้างใน 1 ปี (ไม่ใช้สิทธิลาอื่น ๆ) เท่ากับ 365 วัน - 104 วัน (วันเสาร์และวันอาทิตย์) - 13 วัน (วันหยุดตามประเพณี) = 248 วัน
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
คำว่า “เอกสารสิทธิ” ตาม ป.อ.มาตรา 1(9) หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามปัญหา สำเนาใบเสร็จรับเงินเป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าได้มีการออกต้นฉบับใบเสร็จรับเงินมีข้อความตรงกับสำเนาใบเสร็จเท่านั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ อันจะถือว่าเป็นเอกสารสิทธิแต่อย่างใด การปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับหนึ่งแล้วยักยอกเงินจำนวนที่เกินกว่าสำเนาใบเสร็จนั้นไว้ครั้งหนึ่ง ย่อมเป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งตั้งแต่เวลาที่ยักยอกเงินจำนวนนั้นแล้ว ส่วนการที่ลูกจ้างรวบรวมเงินในแต่ละวันเพื่อส่งมอบให้แก่นายจ้างในช่วงเย็นเป็นเพียงการปฏิบัติตามหน้าที่ของลูกจ้างเท่านั้น หาใช่เป็นการยักยอกเงินในตอนนั้นไม่ ลูกจ้างจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ.มาตรา 264 รวม 2,009 กรรม
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2526)
# จำนวนวันทำงานจริงของลูกจ้างใน 1 ปี (ไม่ใช้สิทธิลาอื่น ๆ) เท่ากับ 365 วัน - 104 วัน (วันเสาร์และวันอาทิตย์) - 13 วัน (วันหยุดตามประเพณี) = 248 วัน
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ