การทำพินัยกรรมของผู้ที่เขียนหนังสือไม่ได้และนิ้วกุด

66 Views
เจ้ามรดกเขียนหนังสือไม่ได้และนิ้วกุดเพราะเป็นโรคเรื้อน พิมพ์ลายนิ้วมือทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่วัดโดยมีเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส แม่ชี และเจ้าหน้าที่การเงินของวัด ลงลายมือชื่อเป็นพยานรับรองความถูกต้อง พินัยกรรมนั้นจะมีผลบังคับได้หรือไม่
 
ป.พ.พ.มาตรา 1656 ว.1 และ 1653 ว.1 มีหลักว่า “พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น และผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้” ในกรณีนี้ เจ้ามรดกไม่สามารถลงลายมือชื่อได้เนื่องจากเป็นโรคเรื้อนและนิ้วกุด แต่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือแทน และมีเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส แม่ชี และเจ้าหน้าที่การเงินของวัด ลงลายมือชื่อเป็นพยานรับรองความถูกต้อง ดังนั้น พินัยกรรมนี้จึงถือว่ามีผลบังคับได้ เนื่องจากวัดเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากเจ้าอาวาส และไม่มีข้อกฎหมายที่ทำให้พินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ
 
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2505 และ 1233/2505)
 
# โรคเรื้อน (Leprosy หรือ Hansen's Disease) เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อมัยโคแบคทีเรีย (Mycobacterium leprae) ซึ่งสามารถติดเชื้อในคนหรือสัตว์ เช่น ตัวนิ่มเก้าลาย และลิงบางชนิด โรคนี้ทำให้เกิดความผิดปกติที่ผิวหนังและการอักเสบของเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบ และทำให้มือเท้าหงิกหรือกุดได้ในระยะท้ายของโรค (สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ “โรคเรื้อน” สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารเผยแพร่ของภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ลิงก์นี้นะครับ : https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=36)
 
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ

บทความอื่นๆ