ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
232 Views
เดินทางไปทำงานโดยถึงหน้าโรงงานเวลา 7.30 น. ก่อนเวลาเริ่มงาน แต่ยืนรอเพื่อนที่หน้าประตูโรงงาน ต่อมามีรถจักรยานยนต์เสียหลักพุ่งชนลูกจ้างจนถึงแก่ความตาย กรณีดังกล่าวถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหรือไม่
คำว่า "ประสบอันตราย" ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจหรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง และการที่จะถือว่าเป็นการทำงานให้นายจ้างนั้น ต้องเป็นไปตามขอบเขตการจ้างและหน้าที่การงานของลูกจ้างด้วย ข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น ลูกจ้างเพียงแต่จะเข้าไปทำงานในโรงงานตามหน้าที่ แต่ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ภายนอกโรงงานโดยมีรถจักรยานยนต์เสียหลักพุ่งชนลูกจ้างจนถึงแก่ความตายเสียก่อน ลูกจ้างจึงยังมิได้ทำงานใด ๆ ให้แก่นายจ้าง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2521)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
คำว่า "ประสบอันตราย" ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจหรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง และการที่จะถือว่าเป็นการทำงานให้นายจ้างนั้น ต้องเป็นไปตามขอบเขตการจ้างและหน้าที่การงานของลูกจ้างด้วย ข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น ลูกจ้างเพียงแต่จะเข้าไปทำงานในโรงงานตามหน้าที่ แต่ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ภายนอกโรงงานโดยมีรถจักรยานยนต์เสียหลักพุ่งชนลูกจ้างจนถึงแก่ความตายเสียก่อน ลูกจ้างจึงยังมิได้ทำงานใด ๆ ให้แก่นายจ้าง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2521)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ