ผู้ที่แพร่เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID 2019) จะมีความรับผิดทางอาญาหรือไม่
ผู้ที่แพร่เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID 2019) จะมีความรับผิดทางอาญาหรือไม่
439 Views
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID 2019) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด สามารถแพร่กระจายผ่านอนุภาคของเหลวขนาดเล็กจากปากหรือจมูกของผู้ติดเชื้อเมื่อไอ จาม พูด หรือหายใจ เข้าสู่ร่างกายของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือโดยการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสแล้วสัมผัสตา จมูก หรือปากของตนเอง ข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาแล้วทั่วโลกเป็นจำนวนกว่า 413,000,000 คน และเสียชีวิตไปแล้วกว่า 5,830,000 คน เฉพาะในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อกว่า 2,622,600 คน และเสียชีวิตแล้ว 22,489 คน ทั้งนี้ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานและการฟื้นฟูร่างกายของผู้ติดเชื้อแต่ละคนเป็นสำคัญ จึงมีคำถามว่า ผู้ที่แพร่เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID 2019) จะมีความรับผิดทางอาญาหรือไม่ แอดมินมีความเห็นดังนี้ครับ
กฎหมายอาญาของไทยได้กำหนดให้บุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ การวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาจะต้องพิจารณาถึงโครงสร้างความรับผิดว่าการกระทำดังกล่าวครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ และสอดคล้องตามหลักเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลหรือไม่ จากคำถามดังกล่าวข้างต้น เป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้อจะมีทั้งผู้ที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนาจะมีระยะฟักตัว (Window Period) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ผู้ติดเชื้อได้รับเชื้อมาแล้วแต่ยังตรวจไม่พบประมาณ 3-5 วัน หรือยังไม่แสดงอาการของโรค การแพร่เชื้อในระยะดังกล่าวจึงต้องถือว่าผู้ที่แพร่เชื้อยังไม่มีเจตนา การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีความผิด อย่างไรก็ดี หากบุคคลดังกล่าวทราบว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อแล้วแต่กลับไม่กักตัวหรือรับการรักษา และใช้ชีวิตในสังคมตามปกติร่วมกับผู้อื่นโดยไม่ป้องกัน ย่อมต้องถือว่าบุคคลนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นในสังคมโดยมีเจตนาประเภทย่อมเล็งเห็นผลที่จะแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ จึงต้องมีความรับผิดในทางอาญาต่อชีวิตและร่างกายของผู้อื่นแล้วแต่กรณี # ทั้งนี้ ไม่รวมถึงโทษตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 34(6) ซึ่งระบุว่า ห้ามผู้ใดกระทำการหรือดำเนินการใดๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป ซึ่งผู้ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาทตามมาตรา 51 อีกด้วย
กฎหมายอาญาของไทยได้กำหนดให้บุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ การวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาจะต้องพิจารณาถึงโครงสร้างความรับผิดว่าการกระทำดังกล่าวครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ และสอดคล้องตามหลักเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลหรือไม่ จากคำถามดังกล่าวข้างต้น เป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้อจะมีทั้งผู้ที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนาจะมีระยะฟักตัว (Window Period) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ผู้ติดเชื้อได้รับเชื้อมาแล้วแต่ยังตรวจไม่พบประมาณ 3-5 วัน หรือยังไม่แสดงอาการของโรค การแพร่เชื้อในระยะดังกล่าวจึงต้องถือว่าผู้ที่แพร่เชื้อยังไม่มีเจตนา การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีความผิด อย่างไรก็ดี หากบุคคลดังกล่าวทราบว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อแล้วแต่กลับไม่กักตัวหรือรับการรักษา และใช้ชีวิตในสังคมตามปกติร่วมกับผู้อื่นโดยไม่ป้องกัน ย่อมต้องถือว่าบุคคลนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นในสังคมโดยมีเจตนาประเภทย่อมเล็งเห็นผลที่จะแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ จึงต้องมีความรับผิดในทางอาญาต่อชีวิตและร่างกายของผู้อื่นแล้วแต่กรณี # ทั้งนี้ ไม่รวมถึงโทษตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 34(6) ซึ่งระบุว่า ห้ามผู้ใดกระทำการหรือดำเนินการใดๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป ซึ่งผู้ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาทตามมาตรา 51 อีกด้วย