การที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิตระหว่างการเดินทางจากบ้านมาที่ทำงานหรือกลับบ้านหลังเลิกงานตามปกติ ถือเป็นการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้างซึ่งทายาทของลูกจ้างมีสิทธิขอรับค่าทดแทนต่อกองทุนเงินทดแทนหรือไม่
การที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิตระหว่างการเดินทางจากบ้านมาที่ทำงานหรือกลับบ้านหลังเลิกงานตามปกติ ถือเป็นการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้างซึ่งทายาทของลูกจ้างมีสิทธิขอรับค่าทดแทนต่อกองทุนเงินทดแทนหรือไม่
195 Views
จากสถิติมีการคาดการณ์กันว่า จำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในปี 2565 จะมีมากถึง 15,000 ราย หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 42 ราย โดยในจำนวนนี้ มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เสียชีวิตนั้นจะเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางจากบ้านมาที่ทำงานหรือกลับบ้านหลังเลิกงาน จึงมีคำถามว่า การที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิตระหว่างการเดินทางจากบ้านมาที่ทำงานหรือกลับบ้านหลังเลิกงานตามปกติ ถือเป็นการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้างซึ่งทายาทของลูกจ้างมีสิทธิขอรับค่าทดแทนต่อกองทุนเงินทดแทนหรือไม่
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 5 ได้ให้นิยามของคำว่า “ประสบอันตราย” ไว้หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง ส่วน “ค่าทดแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 สำหรับการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือสูญหายของลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ จากคำนิยามข้างต้น หากลูกจ้างได้ดังกล่าว ระหว่างการเดินทางกลับจึงยังต้องถือเป็นช่วงเวลาที่ลูกจ้างได้ปฏิบัติงานในทางการที่จ้างให้แก่นายจ้างอยู่ กรณีต่างเดินทางไปตามคำสั่งเพื่อไปปฏิบัติงานในทางการที่จ้างให้กับนายจ้าง และเมื่อปฏิบัติงานนอกสถานที่เสร็จแล้วก็ย่อมจะต้องเดินทางกลับจากสถานที่กับการที่ลูกจ้างปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ สถานที่ทำงานตามปกติเสร็จแล้วเดินทางกลับบ้าน ซึ่งไม่อาจถือได้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาปฏิบัติงานในทางการที่จ้างให้แก่นายจ้าง ทายาทของลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิขอรับค่าทดแทนต่อกองทุนเงินทดแทน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2540)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 5 ได้ให้นิยามของคำว่า “ประสบอันตราย” ไว้หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง ส่วน “ค่าทดแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 สำหรับการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือสูญหายของลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ จากคำนิยามข้างต้น หากลูกจ้างได้ดังกล่าว ระหว่างการเดินทางกลับจึงยังต้องถือเป็นช่วงเวลาที่ลูกจ้างได้ปฏิบัติงานในทางการที่จ้างให้แก่นายจ้างอยู่ กรณีต่างเดินทางไปตามคำสั่งเพื่อไปปฏิบัติงานในทางการที่จ้างให้กับนายจ้าง และเมื่อปฏิบัติงานนอกสถานที่เสร็จแล้วก็ย่อมจะต้องเดินทางกลับจากสถานที่กับการที่ลูกจ้างปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ สถานที่ทำงานตามปกติเสร็จแล้วเดินทางกลับบ้าน ซึ่งไม่อาจถือได้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาปฏิบัติงานในทางการที่จ้างให้แก่นายจ้าง ทายาทของลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิขอรับค่าทดแทนต่อกองทุนเงินทดแทน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2540)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ