ข้อความแบบใดจึงจะถือว่าเป็นสัญญากู้ และใบสำคัญจ่ายซึ่งปรากฏคำว่าเงินทดรองจำนวน 100,000 บาทนั้นจะถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้หรือไม่
ข้อความแบบใดจึงจะถือว่าเป็นสัญญากู้ และใบสำคัญจ่ายซึ่งปรากฏคำว่าเงินทดรองจำนวน 100,000 บาทนั้นจะถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้หรือไม่
422 Views
ภาษาไทยนั้นถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติและเป็นสมบัติทางวัฒนธรรม ลักษณะพิเศษของภาษาไทยประการหนึ่งคือ บางคำอาจมีความหมายได้หลายความหมายเปลี่ยนแปลงไปตามข้อความแวดล้อมหรือบริบทของคำนั้น จึงมีคำถามว่า ข้อความแบบใดจึงจะถือว่าเป็นสัญญากู้ และใบสำคัญจ่ายซึ่งปรากฏคำว่าเงินทดรองจำนวน 100,000 บาทนั้นจะถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้หรือไม่
หนังสือหรือเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมอันจะนำไปฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เอกสารดังกล่าวควรมีถ้อยคำหรือใจความที่แสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกัน หรือควรมีการกำหนดให้มีการเรียกดอกเบี้ยกัน ก็อาจเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะแห่งการให้กู้ยืมเงิน การที่ใบสำคัญจ่ายมีข้อความเพียงว่าจ่ายเงินทดรองให้จำนวน 100,000 บาทเท่านั้น โดยไม่มีข้อความว่าจะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้หรือจะต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่กันอย่างไร เพียงไรและเมื่อใด แม้จะมีการลงลายมือชื่อผู้รับเงินในเอกสารไว้ด้วยก็ตาม ข้อความที่ว่าเงินทดรองก็มีความหมายเพียงว่าออกเงินให้ไปก่อน หาได้มีความหมายว่ากู้ยืมแต่อย่างใดไม่ ดังนี้ เมื่อใบสำคัญจ่ายไม่มีข้อความที่แสดงว่าในการรับเงินจำนวนดังกล่าวจะต้องใช้เงินคืนแก่กันและกำหนดเรื่องการชำระดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นลักษณะของการกู้ยืมเงินโดยทั่วไป จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าใบสำคัญจ่ายเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13511/2556)
หนังสือหรือเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมอันจะนำไปฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เอกสารดังกล่าวควรมีถ้อยคำหรือใจความที่แสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกัน หรือควรมีการกำหนดให้มีการเรียกดอกเบี้ยกัน ก็อาจเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะแห่งการให้กู้ยืมเงิน การที่ใบสำคัญจ่ายมีข้อความเพียงว่าจ่ายเงินทดรองให้จำนวน 100,000 บาทเท่านั้น โดยไม่มีข้อความว่าจะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้หรือจะต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่กันอย่างไร เพียงไรและเมื่อใด แม้จะมีการลงลายมือชื่อผู้รับเงินในเอกสารไว้ด้วยก็ตาม ข้อความที่ว่าเงินทดรองก็มีความหมายเพียงว่าออกเงินให้ไปก่อน หาได้มีความหมายว่ากู้ยืมแต่อย่างใดไม่ ดังนี้ เมื่อใบสำคัญจ่ายไม่มีข้อความที่แสดงว่าในการรับเงินจำนวนดังกล่าวจะต้องใช้เงินคืนแก่กันและกำหนดเรื่องการชำระดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นลักษณะของการกู้ยืมเงินโดยทั่วไป จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าใบสำคัญจ่ายเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13511/2556)