การที่ลูกจ้างดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่การงานเป็นความผิดอย่างร้ายแรงหรือไม่
การที่ลูกจ้างดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่การงานเป็นความผิดอย่างร้ายแรงหรือไม่
269 Views
การที่ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่เป็นกรรมการร่วมปิดตู้นิรภัยของนายจ้าง (เวลา 18.00 น.) ออกไปดื่มสุราจำนวน 1 แก้วกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างนอกรั้วของบริษัทในเวลา 17.50 น. และได้มีการโต้เถียงกับหัวหน้างานเมื่อถูกตักเตือน แต่ไม่มีอาการมึนเมาสุราและยังคงทำหน้าที่กรรมการปิดตู้นิรภัยได้ตามปกติในเวลา 18.00 น. เช่นเดิม หากข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า “ลูกจ้างผู้ใดดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่การงานเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง” นายจ้างจึงเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว มีคำถามว่า การลงโทษลูกจ้างชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างจะระบุว่า ลูกจ้างผู้ใดดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่การงานเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงลูกจ้างดื่มสุราไปเพียงเล็กน้อยนอกที่ทำการในขณะที่ใกล้หมดเวลาการทำงานของนายจ้างเหลือแต่เพียงรอเวลาทำหน้าที่กรรมการปิดตู้นิรภัยเท่านั้น ไม่มีอาการมึนเมาสุรา เพียงแต่ได้มีการโต้เถียงกับหัวหน้างานเมื่อถูกตักเตือน ทั้งลูกจ้างยังสามารถกลับมาร่วมปิดตู้นิรภัยได้โดยไม่ได้ทำให้งานในหน้าที่เสียหายแต่อย่างใด ซึ่งการพิจารณาว่าการกระทำผิดใดจะถือเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นราย ๆ ไป หาใช่เมื่อลูกจ้างดื่มสุราแล้วแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นความผิดร้ายแรงทันที การกระทำผิดของลูกจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดในกรณีร้ายแรง ดังนั้น การลงโทษลูกจ้างจึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งนายจ้างอาจมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ตัดเงินค่าจ้าง ลดขั้นเงินเดือนหรือลดค่าจ้างตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมแก่ความผิดเท่านั้น ไม่มีกรณีต้องให้ออกจากงานแต่อย่างใด การที่นายจ้างมีคำสั่งลงโทษโดยการเลิกจ้างลูกจ้างจึงเป็นการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2549)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างจะระบุว่า ลูกจ้างผู้ใดดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่การงานเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงลูกจ้างดื่มสุราไปเพียงเล็กน้อยนอกที่ทำการในขณะที่ใกล้หมดเวลาการทำงานของนายจ้างเหลือแต่เพียงรอเวลาทำหน้าที่กรรมการปิดตู้นิรภัยเท่านั้น ไม่มีอาการมึนเมาสุรา เพียงแต่ได้มีการโต้เถียงกับหัวหน้างานเมื่อถูกตักเตือน ทั้งลูกจ้างยังสามารถกลับมาร่วมปิดตู้นิรภัยได้โดยไม่ได้ทำให้งานในหน้าที่เสียหายแต่อย่างใด ซึ่งการพิจารณาว่าการกระทำผิดใดจะถือเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นราย ๆ ไป หาใช่เมื่อลูกจ้างดื่มสุราแล้วแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นความผิดร้ายแรงทันที การกระทำผิดของลูกจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดในกรณีร้ายแรง ดังนั้น การลงโทษลูกจ้างจึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งนายจ้างอาจมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ตัดเงินค่าจ้าง ลดขั้นเงินเดือนหรือลดค่าจ้างตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมแก่ความผิดเท่านั้น ไม่มีกรณีต้องให้ออกจากงานแต่อย่างใด การที่นายจ้างมีคำสั่งลงโทษโดยการเลิกจ้างลูกจ้างจึงเป็นการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2549)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ