การเป็นชู้ vs การกระทำละเมิด
การเป็นชู้ vs การกระทำละเมิด
220 Views
การที่หญิงอื่นมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีถือเป็นการกระทำละเมิดต่อภริยาหรือไม่ และหากจดทะเบียนหย่ากันแล้ว ภริยาจะยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นได้หรือไม่
แม้ภริยาจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหญิงอื่นที่มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามี โดยตั้งข้อหามาในคำฟ้องว่าละเมิดทำให้ต้องสูญเสียสามีอันมีค่าของตนเองไป ทำให้ได้รับความชอกช้ำระกำใจ อับอาย เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ และจำใจต้องจดทะเบียนหย่ากับสามี ทำให้ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่คำฟ้องดังกล่าวก็ไม่ผูกมัดว่าศาลจะต้องนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องละเมิดมาปรับแก่คดีดังที่ภริยาตั้งข้อหา แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับบทกฎหมายที่ถูกต้องเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดี หากฟ้องของภริยาเป็นความจริง ก็หาใช่เป็นเรื่องละเมิดไม่ เพราะกรณีที่สามีไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่นอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของภริยานั้น มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 ว.2 แล้ว กรณีจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเท่านั้น ภริยาจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ มิใช่เป็นเรื่องการกระทำละเมิด และแม้จะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้วก็ตามก็ไม่ทำให้สิทธิดังกล่าวต้องเสียไป
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261/2560)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
แม้ภริยาจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหญิงอื่นที่มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามี โดยตั้งข้อหามาในคำฟ้องว่าละเมิดทำให้ต้องสูญเสียสามีอันมีค่าของตนเองไป ทำให้ได้รับความชอกช้ำระกำใจ อับอาย เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ และจำใจต้องจดทะเบียนหย่ากับสามี ทำให้ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่คำฟ้องดังกล่าวก็ไม่ผูกมัดว่าศาลจะต้องนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องละเมิดมาปรับแก่คดีดังที่ภริยาตั้งข้อหา แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับบทกฎหมายที่ถูกต้องเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดี หากฟ้องของภริยาเป็นความจริง ก็หาใช่เป็นเรื่องละเมิดไม่ เพราะกรณีที่สามีไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่นอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของภริยานั้น มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 ว.2 แล้ว กรณีจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเท่านั้น ภริยาจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ มิใช่เป็นเรื่องการกระทำละเมิด และแม้จะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้วก็ตามก็ไม่ทำให้สิทธิดังกล่าวต้องเสียไป
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261/2560)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ