ของที่ให้กันในวันที่แต่งงานแต่ไม่จดทะเบียนสมรส เป็นสินสอดและของหมั้นหรือไม่
ของที่ให้กันในวันที่แต่งงานแต่ไม่จดทะเบียนสมรส เป็นสินสอดและของหมั้นหรือไม่
410 Views
ปัจจุบันค่านิยมในการแต่งงานและจดทะเบียนสมรสได้มีการเปลี่ยนแปลงไป หลายคู่ทดลองอยู่กินกันก่อนแต่งงาน และมีอีกจำนวนมากที่แต่งงานตามประเพณีแต่ไม่จดทะเบียนสมรส เนื่องด้วยเหตุผลของความไม่สะดวกในการทำนิติกรรมต่างๆ การจัดการทรัพย์สิน หรือมีความรู้สึกหวงแหนสถานะภาพของตนเอง จึงมีคำถามว่า ของที่ให้กันในวันที่แต่งงานแต่ไม่จดทะเบียนสมรส เป็นสินสอดและของหมั้นหรือไม่
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “สินสอด” ไว้ว่าหมายถึง ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ส่วนคำว่า “ของหมั้น” หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สินสอดหรือของหมั้นนั้นจึงต้องเป็นการให้โดยมีเจตนาที่จะสมรสกันตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าทั้งสองฝ่ายเพียงแต่ประกอบพิธีสมรสตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ของ(ทรัพย์สิน)นั้นจึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1437 ไม่ # แต่ถือว่าเป็นการให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2524 และ 1117/2535)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “สินสอด” ไว้ว่าหมายถึง ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ส่วนคำว่า “ของหมั้น” หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สินสอดหรือของหมั้นนั้นจึงต้องเป็นการให้โดยมีเจตนาที่จะสมรสกันตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าทั้งสองฝ่ายเพียงแต่ประกอบพิธีสมรสตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ของ(ทรัพย์สิน)นั้นจึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1437 ไม่ # แต่ถือว่าเป็นการให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2524 และ 1117/2535)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ