การใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลซึ่งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นแล้วนำออกไปโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่
การใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลซึ่งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นแล้วนำออกไปโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่
456 Views
ตามพจนานุกรม “ข้อมูล” ความหมายว่า ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ดังนั้น ข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุที่มีรูปร่าง เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 137 บัญญัติว่า “ทรัพย์” หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในอุปกรณ์บันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การเอาไปซึ่งข้อมูลดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา อย่างไรก็ดี การใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลซึ่งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นแล้วนำออกไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นเข้าถึงซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แล้ว นอกจากนี้ หากข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นความลับทางการค้าที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ซึ่งไม่อาจเข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไป และเจ้าของข้อมูลได้มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อการรักษาไว้เป็นความลับแล้ว การนำข้อมูลออกไปโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วเปิดเผยทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพลง จึงเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของเจ้าข้อมูลตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 อีกความผิดหนึ่งด้วย ผู้กระทำผิดจึงต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนด และต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของข้อมูลตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร