ใช้สัญญาณ WiFi จากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้อื่นโดยพลการจะมีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่
ใช้สัญญาณ WiFi จากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้อื่นโดยพลการจะมีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่
321 Views
ณ ขณะที่เขียนบทความนี้ แอดมินอยู่ที่สนามบินและได้ลองเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านระบบ WiFi Hotspot (จุดกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย) จากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของตนเอง และพบว่าก่อนการเชื่อมต่อสัญญาณกับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คจะปรากฏข้อมูล WiFi ที่สามารถตรวจจับสัญญาณได้อยู่หลายชื่อ จึงมีคำถามที่น่าคิดว่าหากเราใช้สัญญาณ WiFi จากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนดังกล่าวของผู้อื่นโดยไม่ขออนุญาตจะมีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่
WiFi เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้โดยใช้คลื่นวิทยุ ส่วนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนั้น เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือเข้ากับโปรแกรมประยุกต์ในโทรศัพท์ตามประเภทของระบบปฏิบัติการนั้นๆ จึงอยู่ในความหมายของคำว่า “ระบบคอมพิวเตอร์” ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3 เมื่อคำว่า “ทรัพย์” ตาม ป.พ.พ.มาตรา 137 หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง การเชื่อมต่อสัญญาณ WiFi จากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้อื่นที่มีรหัสป้องกัน (Password) โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นเพียงการแย่งใช้คลื่นวิทยุโดยไม่มีสิทธิเท่านั้น มิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี การกระทำดังกล่าวเข้าองค์ประกอบความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2539)
WiFi เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้โดยใช้คลื่นวิทยุ ส่วนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนั้น เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือเข้ากับโปรแกรมประยุกต์ในโทรศัพท์ตามประเภทของระบบปฏิบัติการนั้นๆ จึงอยู่ในความหมายของคำว่า “ระบบคอมพิวเตอร์” ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3 เมื่อคำว่า “ทรัพย์” ตาม ป.พ.พ.มาตรา 137 หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง การเชื่อมต่อสัญญาณ WiFi จากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้อื่นที่มีรหัสป้องกัน (Password) โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นเพียงการแย่งใช้คลื่นวิทยุโดยไม่มีสิทธิเท่านั้น มิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี การกระทำดังกล่าวเข้าองค์ประกอบความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2539)