การไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์

318 Views
ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ หากศาลชั้นต้นยังไม่ได้ไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ แต่ก็ไม่ได้ค้าน ศาลจะมีคำสั่งประทับฟ้องและพิพากษาลงโทษจำเลยได้หรือไม่ และหากความปรากฏในศาลฎีกา ศาลจะมีคำสั่งอย่างไร
 
ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ กฎหมายบัญญัติให้ศาลดำเนินกระบวนการไต่สวนเพื่อวินิจฉัยมูลคดีก่อนประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (12), 162, 165 และ 167 อันเป็นวิธีการป้องกันการแกล้งบีบบังคับโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่จะนำความเดือนร้อนมาสู่ราษฎรด้วยกันเองโดยไม่จำเป็น จึงเป็นบทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้าน จะเท่ากับรับว่าคดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ฉะนั้น เพื่อรักษาระบบการไต่สวนให้ดำรงอยู่ เมื่อความปรากฏในศาลฎีกา ศาลจึงเห็นควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยนี้ โดยย้อนสำนวนลงไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาพิพากษาต่อไปตามมูลเหตุแห่งคดี
 
 (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2508)
 
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ

บทความอื่นๆ