กรณีลักพาตัวเด็กแล้วนำไปปล่อยทิ้งไว้ จะมีความผิดอาญาฐานใดบ้าง
กรณีลักพาตัวเด็กแล้วนำไปปล่อยทิ้งไว้ จะมีความผิดอาญาฐานใดบ้าง
422 Views
ในขณะที่ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีการพัฒนาที่สูงขึ้น ปริมาณของการก่ออาชญากรรมก็กลับมีจำนวนที่สูงขึ้นเช่นกัน และทวีความรุนแรงมากกว่าในอดีต จนบางครั้งพวกเราอาจจะซึมซับความรุนแรงดังกล่าวและยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติของสังคมในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2561-2563 พบว่า ในประเทศไทยมีอัตราการลักพาตัวเด็กเฉลี่ยปีละประมาณ 290 คน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ข้อมูลจากมูลนิธิกระจกเงาระบุว่า “การลักพาตัวเด็ก ส่วนใหญ่มักจะมีวัตถุประสงค์เพื่อการกระทำทางเพศ หรือเพื่อความเสน่หาเอาไปเลี้ยงดู หรือเพื่อเอาไปเร่ร่อนขอทาน หรือเพื่อการสร้างสถานการณ์โดยคนในครอบครัวหรือบุคคลที่รู้จักหรือมีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว” แต่พวกเราทราบมั้ยครับว่า การกระทำดังกล่าว จะมีความผิดอาญาฐานใดบ้าง แอดมินมีคำตอบครับ
การลักพาตัวเด็กนั้น ถือเป็นการแยกอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก จึงมีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอันควร และเมื่อนำเด็กไปปล่อยทิ้งไว้ เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปจากการดูแลและปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพ จึงมีความผิดฐานทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกิน 9 ปี เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตนโดยประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแลอีกด้วย # คำว่า “พราก” มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า จากไป พาเอาไปเสียจาก แยกออกจากกัน หรือเอาออกจากกัน ดังนั้น ความผิดฐานพรากเด็ก จึงหมายถึง การพาหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบุคคลดังกล่าวถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก # อย่างไรก็ดี นอกจากฐานความผิดดังกล่าวแล้ว หากผู้กระทำมีมูลเหตุจูงใจเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระทำความผิดประการอื่นด้วย ก็จะมีความผิดอาญาฐานอื่นๆ อีก เช่น ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหรือกระทำอนาจารแก่เด็ก, ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร, ความผิดฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารเด็ก, ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นและให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใด, และความผิดฐานเรียกค่าไถ่ เป็นต้น # นอกจากนี้ หากเด็กที่ลักพาไปได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย ผู้กระทำก็อาจจะต้องรับโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือฆ่าผู้อื่นต่อไปด้วย # ทั้งนี้ ยังมินับรวมความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551, พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วยนะครับ
# ขอบคุณข้อมูลจากมูลนิธิกระจกเงาในส่วน “วัตถุประสงค์การลักพาตัวเด็ก” นะครับ
การลักพาตัวเด็กนั้น ถือเป็นการแยกอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก จึงมีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอันควร และเมื่อนำเด็กไปปล่อยทิ้งไว้ เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปจากการดูแลและปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพ จึงมีความผิดฐานทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกิน 9 ปี เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตนโดยประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแลอีกด้วย # คำว่า “พราก” มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า จากไป พาเอาไปเสียจาก แยกออกจากกัน หรือเอาออกจากกัน ดังนั้น ความผิดฐานพรากเด็ก จึงหมายถึง การพาหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบุคคลดังกล่าวถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก # อย่างไรก็ดี นอกจากฐานความผิดดังกล่าวแล้ว หากผู้กระทำมีมูลเหตุจูงใจเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระทำความผิดประการอื่นด้วย ก็จะมีความผิดอาญาฐานอื่นๆ อีก เช่น ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหรือกระทำอนาจารแก่เด็ก, ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร, ความผิดฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารเด็ก, ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นและให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใด, และความผิดฐานเรียกค่าไถ่ เป็นต้น # นอกจากนี้ หากเด็กที่ลักพาไปได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย ผู้กระทำก็อาจจะต้องรับโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือฆ่าผู้อื่นต่อไปด้วย # ทั้งนี้ ยังมินับรวมความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551, พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วยนะครับ
# ขอบคุณข้อมูลจากมูลนิธิกระจกเงาในส่วน “วัตถุประสงค์การลักพาตัวเด็ก” นะครับ