กรณีข้าราชการพลเรือนถูกสั่งให้ออกจากราชการมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง ระยะเวลา 30 วันดังกล่าวมีวิธีการนับอย่างไร
กรณีข้าราชการพลเรือนถูกสั่งให้ออกจากราชการมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง ระยะเวลา 30 วันดังกล่าวมีวิธีการนับอย่างไร
273 Views
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มีหลักว่า “ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (8) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม” ตามปัญหาข้างต้น เมื่อระยะเวลากำหนดเป็นวัน การนับระยะเวลาจึงมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่ จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี หรือมีกฎหมายกำหนดวิธีการนับไว้เป็นอย่างอื่นตาม ป.พ.พ.ม.193/1 และ 193/3 ดังนั้น คำว่า “ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง” จึงต้องนับหนึ่งของวันรุ่งขึ้น เช่น หากข้าราชการพลเรือนลงนามรับทราบคำสั่งให้ออกจากราชการในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 จะต้องเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบ 30 วันในวันที่ 12 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ยังมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2566 ตรงกับวันอาทิตย์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ในวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2566 อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ.ม.193/8
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2517)
# คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม, การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์, การพิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรม รวมไปถึงการออกกฎ ก.พ.ค. หรือระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2517)
# คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม, การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์, การพิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรม รวมไปถึงการออกกฎ ก.พ.ค. หรือระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ