ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างมีผลใช้บังคับกับลูกจ้างนอกเวลาทำงานด้วยหรือไม่
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างมีผลใช้บังคับกับลูกจ้างนอกเวลาทำงานด้วยหรือไม่
541 Views
ปัญหาการไม่มีวินัยของลูกจ้างถือเป็นเรื่องที่สร้างความลำบากใจให้แก่นายจ้างอยู่เสมอ ยิ่งหากเป็นเรื่องที่พนักงานกระทำผิดนอกเวลาทำงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นเวลาส่วนตัว การพิจารณาและกำหนดโทษย่อมมีความเสี่ยงที่อาจจะถูกลูกจ้างโต้แย้งได้ในภายหลัง จึงมีคำถามว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างมีผลใช้บังคับกับลูกจ้างนอกเวลาทำงานด้วยหรือไม่
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) มีหลักว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้...(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน.......” และป.พ.พ. มาตรา 583 มีหลักว่า “ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี นายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้” # การที่ลูกจ้างประพฤติตนไม่ดี ไม่เรียบร้อย และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หากกรณีมีความเสียหายกระทบต่อชื่อเสียงของนายจ้างแล้ว แม้เป็นช่วงนอกเวลาทำงานของลูกจ้างก็ตาม ย่อมถูกตีความให้เป็นความผิดทางวินัยระดับใดระดับหนึ่ง เช่นเดียวกับกรณีของพนักงานส่งอาหารซึ่งสวมเสื้อของผู้ให้บริการ หรือคนขับรถร่วมบริการที่มีโลโก้ข้างรถ แต่กลับมีเหตุทะเลาะวิวาทกับลูกค้าหรือประชาชนผู้ใช้ถนน กล่าวโดยสรุปคือ วินัยของลูกจ้างโดยเฉพาะเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่นายจ้าง หรืออย่างน้อยต้องไม่ทำให้นายจ้างเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น ถูกตีความและใช้บังคับทั้งในและนอกเวลาทำงานด้วย ดังนั้น หากนายจ้างพิจารณาว่า กรณีดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว ย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) มีหลักว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้...(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน.......” และป.พ.พ. มาตรา 583 มีหลักว่า “ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี นายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้” # การที่ลูกจ้างประพฤติตนไม่ดี ไม่เรียบร้อย และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หากกรณีมีความเสียหายกระทบต่อชื่อเสียงของนายจ้างแล้ว แม้เป็นช่วงนอกเวลาทำงานของลูกจ้างก็ตาม ย่อมถูกตีความให้เป็นความผิดทางวินัยระดับใดระดับหนึ่ง เช่นเดียวกับกรณีของพนักงานส่งอาหารซึ่งสวมเสื้อของผู้ให้บริการ หรือคนขับรถร่วมบริการที่มีโลโก้ข้างรถ แต่กลับมีเหตุทะเลาะวิวาทกับลูกค้าหรือประชาชนผู้ใช้ถนน กล่าวโดยสรุปคือ วินัยของลูกจ้างโดยเฉพาะเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่นายจ้าง หรืออย่างน้อยต้องไม่ทำให้นายจ้างเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น ถูกตีความและใช้บังคับทั้งในและนอกเวลาทำงานด้วย ดังนั้น หากนายจ้างพิจารณาว่า กรณีดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว ย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583