การเห็นผู้อื่นกำลังตกอยู่ในอันตรายที่อาจจะถึงแก่ชีวิต แต่ไม่เข้าช่วยเหลือ จะมีความผิดหรือไม่
การเห็นผู้อื่นกำลังตกอยู่ในอันตรายที่อาจจะถึงแก่ชีวิต แต่ไม่เข้าช่วยเหลือ จะมีความผิดหรือไม่
628 Views
คำว่า“คนดี”นั้น เป็นคำนิยามที่มีได้หลายความหมาย ขึ้นอยู่กับการตีความ ความรู้สึก และประสบการณ์ของผู้ตอบคำถาม อย่างไรก็ดี หากพิจารณาความหมายจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 “คนดี” นั้น หมายความว่า คนที่มีคุณความดี หรือคนที่มีคุณธรรม แต่สำหรับคนทั่วไปนั้น คนดีอาจหมายถึงคนที่มีจิตใจที่ดีและชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น สังคมไทยในปัจจุบันมีสถานการณ์ความขัดแย้งหรือความรุนแรงเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งในเหตุการณ์ดังกล่าวก็มักจะมีพยานหรือคนที่เห็นเหตุการณ์อยู่ด้วยเสมอ จึงมีคำถามว่า การเห็นผู้อื่นกำลังตกอยู่ในอันตรายที่อาจจะถึงแก่ชีวิต แต่ไม่เข้าช่วยเหลือ จะมีความผิดหรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ป.อ. ได้มีบทบัญญัติในการลงโทษบุคคลที่ไม่ทำหน้าที่ของพลเมืองดีอยู่ใน มาตรา 374 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้ โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และในเรื่องของการตีความคำว่าการกระทำนั้น มาตรา 59 วรรคท้าย มีหลักว่า “การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย” จากหลักกฎหมายดังกล่าวอธิบายได้ว่า เมื่อเราพบเห็นคนอื่นซึ่งกำลังตกอยู่ในอันตรายที่อาจจะถึงแก่ชีวิต และเราสามารถช่วยเหลือได้ โดยไม่ควรกลัวอันตราย แต่ไม่ยอมเข้าช่วยเหลือ ย่อมมีความผิด เพราะถือว่าเป็นการงดเว้นหรือละเว้นการกระทำ แล้วแต่กรณี กล่าวคือ หากมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง (หน้าที่เฉพาะ) เช่น หน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อการป้องกันมิให้เกิดผล แต่ไม่กระทำ กลับปล่อยให้เกิดผล ย่อมถือว่าเป็น “การงดเว้นการกระทำ” โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำเห็นคนกำลังจะจมน้ำในสระที่ตนเองดูแล แต่ไม่ช่วยเหลือ จนผู้นั้นถึงแก่ความตาย หรือมารดาที่ไม่ยอมให้นมบุตรของตนเอง ย่อมมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาโดยการงดเว้น แต่หากการไม่เข้าช่วยเหลือดังกล่าวเป็นการกระทำผิดต่อหน้าที่ของพลเมืองดี โดยมิได้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง (หน้าที่เฉพาะ) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผล ย่อมถือว่าเป็น “การละเว้นการกระทำ” ตัวอย่างเช่น นักกีฬาว่ายน้ำเห็นคนกำลังจมน้ำต่อหน้า และสามารถช่วยชีวิตได้ในฐานะพลเมืองดีโดยไม่ต้องกลัวอันตราย แต่ไม่ยอมหรือพยายามเข้าไปช่วยเหลือ ย่อมมีความผิดตามมาตรา 374 นี้ อย่างไรก็ดี คำว่า “โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น” นั้น มุ่งเน้นที่คุณสมบัติของผู้เข้าช่วยเหลือเป็นสำคัญ ดังนั้น หากเข้าช่วยเหลือแล้วย่อมต้องเกิดอันตรายแก่ตนเองอย่างแน่นอน จึงตัดสินใจไม่เข้าช่วยเหลือ บุคคลดังกล่าวย่อมไม่มีความผิด เช่น พบเห็นคนกำลังจะจมน้ำ แต่เราว่ายน้ำไม่เป็นจึงไม่กล้าที่จะกระโดดลงไปช่วยเหลือ เนื่องจากเกรงว่าตนเองจะจมน้ำตาย เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเจอสถานการณ์ดังกล่าวและประเมินแล้วว่าเราไม่สามารถช่วยเหลือได้ ในฐานะที่มีหน้าที่ของพลเมืองดี เราจึงควรแจ้งให้คนอื่นช่วยเหลือ หรือโทรแจ้งตำรวจเพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือบุคคลที่กำลังตกอยู่ในอันตรายนั้นต่อไป
ป.อ. ได้มีบทบัญญัติในการลงโทษบุคคลที่ไม่ทำหน้าที่ของพลเมืองดีอยู่ใน มาตรา 374 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้ โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และในเรื่องของการตีความคำว่าการกระทำนั้น มาตรา 59 วรรคท้าย มีหลักว่า “การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย” จากหลักกฎหมายดังกล่าวอธิบายได้ว่า เมื่อเราพบเห็นคนอื่นซึ่งกำลังตกอยู่ในอันตรายที่อาจจะถึงแก่ชีวิต และเราสามารถช่วยเหลือได้ โดยไม่ควรกลัวอันตราย แต่ไม่ยอมเข้าช่วยเหลือ ย่อมมีความผิด เพราะถือว่าเป็นการงดเว้นหรือละเว้นการกระทำ แล้วแต่กรณี กล่าวคือ หากมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง (หน้าที่เฉพาะ) เช่น หน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อการป้องกันมิให้เกิดผล แต่ไม่กระทำ กลับปล่อยให้เกิดผล ย่อมถือว่าเป็น “การงดเว้นการกระทำ” โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำเห็นคนกำลังจะจมน้ำในสระที่ตนเองดูแล แต่ไม่ช่วยเหลือ จนผู้นั้นถึงแก่ความตาย หรือมารดาที่ไม่ยอมให้นมบุตรของตนเอง ย่อมมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาโดยการงดเว้น แต่หากการไม่เข้าช่วยเหลือดังกล่าวเป็นการกระทำผิดต่อหน้าที่ของพลเมืองดี โดยมิได้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง (หน้าที่เฉพาะ) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผล ย่อมถือว่าเป็น “การละเว้นการกระทำ” ตัวอย่างเช่น นักกีฬาว่ายน้ำเห็นคนกำลังจมน้ำต่อหน้า และสามารถช่วยชีวิตได้ในฐานะพลเมืองดีโดยไม่ต้องกลัวอันตราย แต่ไม่ยอมหรือพยายามเข้าไปช่วยเหลือ ย่อมมีความผิดตามมาตรา 374 นี้ อย่างไรก็ดี คำว่า “โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น” นั้น มุ่งเน้นที่คุณสมบัติของผู้เข้าช่วยเหลือเป็นสำคัญ ดังนั้น หากเข้าช่วยเหลือแล้วย่อมต้องเกิดอันตรายแก่ตนเองอย่างแน่นอน จึงตัดสินใจไม่เข้าช่วยเหลือ บุคคลดังกล่าวย่อมไม่มีความผิด เช่น พบเห็นคนกำลังจะจมน้ำ แต่เราว่ายน้ำไม่เป็นจึงไม่กล้าที่จะกระโดดลงไปช่วยเหลือ เนื่องจากเกรงว่าตนเองจะจมน้ำตาย เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเจอสถานการณ์ดังกล่าวและประเมินแล้วว่าเราไม่สามารถช่วยเหลือได้ ในฐานะที่มีหน้าที่ของพลเมืองดี เราจึงควรแจ้งให้คนอื่นช่วยเหลือ หรือโทรแจ้งตำรวจเพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือบุคคลที่กำลังตกอยู่ในอันตรายนั้นต่อไป