บุตรที่บิดารับรองแล้วจะฟ้องย่าของตนเองในความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกของบิดาได้หรือไม่
บุตรที่บิดารับรองแล้วจะฟ้องย่าของตนเองในความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกของบิดาได้หรือไม่
260 Views
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2564
"ป.พ.พ.มาตรา 1562 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญานั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิ จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งต้องหมายความว่า เป็นการห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของผู้ตายที่ผู้ตายรับรองแล้ว แต่ผู้ตายกับมารดาของโจทก์ทั้งสามมิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ทั้งสามจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ต่อเมื่อผู้ตายและมารดาของโจทก์ทั้งสามได้สมรสกันในภายหลัง หรือผู้ตายได้จดทะเบียนว่าโจทก์ทั้งสามเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1547 บัญญัติไว้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามจึงมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นย่าของโจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามก็ไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสาม จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้"
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
"ป.พ.พ.มาตรา 1562 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญานั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิ จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งต้องหมายความว่า เป็นการห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของผู้ตายที่ผู้ตายรับรองแล้ว แต่ผู้ตายกับมารดาของโจทก์ทั้งสามมิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ทั้งสามจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ต่อเมื่อผู้ตายและมารดาของโจทก์ทั้งสามได้สมรสกันในภายหลัง หรือผู้ตายได้จดทะเบียนว่าโจทก์ทั้งสามเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1547 บัญญัติไว้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามจึงมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นย่าของโจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามก็ไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสาม จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้"
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ