ผลของการบอกกล่าวโดยชอบแต่ไม่มีผู้รับ
ผลของการบอกกล่าวโดยชอบแต่ไม่มีผู้รับ
2074 Views
เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด แต่ไม่มีผู้รับหนังสือดังกล่าวไว้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ไปแล้ว ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความผิดในดอกเบี้ย และค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้นั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2564
“สัญญาค้ำประกันกำหนดว่า “บรรดาหนังสือติดต่อ และ/หรือหนังสือบอกกล่าวทั้งหลายที่จะส่งให้แก่ผู้ค้ำประกันนั้น ไม่ว่าจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือไม่ลงทะเบียนหรือให้คนนำไปส่งเองก็ดี ถ้าหากส่งไปยังตำบล สถานที่ที่ระบุไว้ในข้างต้นของสัญญานี้ แล้วให้ถือว่าได้ส่งให้แก่ผู้ค้ำประกันแล้วโดยชอบ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีผู้รับไว้หรือไม่ และแม้หากว่าส่งให้ไม่ได้เพราะตำบลและสถานที่ที่กล่าวนี้ เปลี่ยนแปลงไป หรือถูกรื้อถอนไปโดยผู้ค้ำประกันไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนนั้นเป็นหนังสือต่อธนาคารก็ดี.... ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันได้รับ และได้ทราบหนังสือติดต่อ และ/หรือหนังสือบอกกล่าวของธนาคารโดยชอบ” การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันตามหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ส่งไปยังจำเลยที่ 6 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ของจำเลยที่ 6 ที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันซึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 6 เคยมีหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่ให้โจทก์ทราบมาก่อน การส่งหนังสือบอกกล่าวเช่นนี้ แม้ไม่มีผู้รับไว้ก็ถือว่าหนังสือบอกกล่าวไปถึงจำเลยที่ 6 อันมีผลเป็นการบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันโดยชอบแล้ว อันเป็นการบอกกล่าวภายในกำหนดเวลา 60 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่บริษัท ย. และจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัด จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันจึงมิได้หลุดพ้นจากความผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 สิบวันนับแต่วันที่บริษัท ย. และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา 686 ว.2”
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2564
“สัญญาค้ำประกันกำหนดว่า “บรรดาหนังสือติดต่อ และ/หรือหนังสือบอกกล่าวทั้งหลายที่จะส่งให้แก่ผู้ค้ำประกันนั้น ไม่ว่าจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือไม่ลงทะเบียนหรือให้คนนำไปส่งเองก็ดี ถ้าหากส่งไปยังตำบล สถานที่ที่ระบุไว้ในข้างต้นของสัญญานี้ แล้วให้ถือว่าได้ส่งให้แก่ผู้ค้ำประกันแล้วโดยชอบ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีผู้รับไว้หรือไม่ และแม้หากว่าส่งให้ไม่ได้เพราะตำบลและสถานที่ที่กล่าวนี้ เปลี่ยนแปลงไป หรือถูกรื้อถอนไปโดยผู้ค้ำประกันไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนนั้นเป็นหนังสือต่อธนาคารก็ดี.... ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันได้รับ และได้ทราบหนังสือติดต่อ และ/หรือหนังสือบอกกล่าวของธนาคารโดยชอบ” การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันตามหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ส่งไปยังจำเลยที่ 6 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ของจำเลยที่ 6 ที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันซึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 6 เคยมีหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่ให้โจทก์ทราบมาก่อน การส่งหนังสือบอกกล่าวเช่นนี้ แม้ไม่มีผู้รับไว้ก็ถือว่าหนังสือบอกกล่าวไปถึงจำเลยที่ 6 อันมีผลเป็นการบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันโดยชอบแล้ว อันเป็นการบอกกล่าวภายในกำหนดเวลา 60 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่บริษัท ย. และจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัด จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันจึงมิได้หลุดพ้นจากความผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 สิบวันนับแต่วันที่บริษัท ย. และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา 686 ว.2”
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ