ภาระการพิสูจน์กรณีอ้างว่าเอกสารที่นำมาฟ้องนั้นเป็นเอกสารปลอม
ภาระการพิสูจน์กรณีอ้างว่าเอกสารที่นำมาฟ้องนั้นเป็นเอกสารปลอม
233 Views
นางสาวจันทนาให้นายประเสริฐกู้เงินจำนวน 20,000 บาท โดยทำเป็นหนังสือสัญญากู้เงินและคิดดอกเบี้ยเดือนละ 2,000 บาท ต่อมานายประเสริฐไม่ชำระหนี้ นางสาวจันทนาเกรงว่าจะมีปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยจึงแก้ไขจำนวนเงินกู้เป็น 200,000 บาท โดยนายประเสริฐมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย และนำสัญญากู้เงินดังกล่าวมาฟ้อง หากนายประเสริฐให้การว่า “สัญญากู้เงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอม” เท่านั้น โดยมิได้ให้การเป็นประเด็นว่าดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ มีคำถามว่า ภาระการพิสูจน์จะตกอยู่กับฝ่ายใด, นางสาวจันทนาจะใช้สัญญากู้เงินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้หรือไม่ และนายประเสริฐจะต้องชำระหนี้ให้แก่นางสาวจันทนาหรือไม่ อย่างไร
ป.วิ.พ.มาตรา 84/1 ตอนต้น มีหลักว่า “คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น .....” เมื่อนายประเสริฐให้การว่าหนังสือสัญญากู้เงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอม ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่นางสาวจันทนาต้องนำสืบให้ศาลรับฟังว่านายประเสริฐกู้เงินตามจำนวนที่นางสาวจันทนากล่าวอ้างในคำฟ้อง การที่นายประเสริฐกู้เงินจากนางสาวจันทนาเพียง 20,000 บาท แต่ภายหลังนางสาวจันทนามีการแก้ไขจำนวนเงินกู้เป็น 200,000 บาท โดยนายประเสริฐมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม แต่หาใช่ว่าจะใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเพื่อฟ้องร้องไม่ได้เสียทั้งหมด ยังคงใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องให้นายประเสริฐต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ถูกต้องก่อนถูกแก้ไขได้ นายประเสริฐกู้เงินจากนางสาวจันทนาเพียง 20,000 บาท ดอกเบี้ยที่นางสาวจันทนาคิดจากนายประเสริฐเดือนละ 2,000 บาทเท่ากับร้อยละ 10 ต่อเดือน จึงเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีตามที่บัญญัติห้ามไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 654 และเป็นการกระทำอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 และตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 ยังคงบัญญัติเป็นความผิด การที่นางสาวจันทนาคิดดอกเบี้ยจากนายประเสริฐในอัตราดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 นางสาวจันทนาจึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากนายประเสริฐ คงเรียกร้องได้เฉพาะเงินต้นที่นายประเสริฐกู้ไปซึ่งแยกออกจากส่วนดอกเบี้ยที่ตกเป็นโมฆะ แม้นายประเสริฐจะมิได้ให้การเป็นประเด็นว่าดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 และ 654 แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) เมื่อนางสาวจันทนาไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ย จึงต้องนำดอกเบี้ยที่นายประเสริฐชำระให้แก่นางสาวจันทนาแล้วไปหักชำระออกจากต้นเงิน
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2563)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.วิ.พ.มาตรา 84/1 ตอนต้น มีหลักว่า “คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น .....” เมื่อนายประเสริฐให้การว่าหนังสือสัญญากู้เงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอม ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่นางสาวจันทนาต้องนำสืบให้ศาลรับฟังว่านายประเสริฐกู้เงินตามจำนวนที่นางสาวจันทนากล่าวอ้างในคำฟ้อง การที่นายประเสริฐกู้เงินจากนางสาวจันทนาเพียง 20,000 บาท แต่ภายหลังนางสาวจันทนามีการแก้ไขจำนวนเงินกู้เป็น 200,000 บาท โดยนายประเสริฐมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม แต่หาใช่ว่าจะใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเพื่อฟ้องร้องไม่ได้เสียทั้งหมด ยังคงใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องให้นายประเสริฐต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ถูกต้องก่อนถูกแก้ไขได้ นายประเสริฐกู้เงินจากนางสาวจันทนาเพียง 20,000 บาท ดอกเบี้ยที่นางสาวจันทนาคิดจากนายประเสริฐเดือนละ 2,000 บาทเท่ากับร้อยละ 10 ต่อเดือน จึงเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีตามที่บัญญัติห้ามไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 654 และเป็นการกระทำอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 และตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 ยังคงบัญญัติเป็นความผิด การที่นางสาวจันทนาคิดดอกเบี้ยจากนายประเสริฐในอัตราดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 นางสาวจันทนาจึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากนายประเสริฐ คงเรียกร้องได้เฉพาะเงินต้นที่นายประเสริฐกู้ไปซึ่งแยกออกจากส่วนดอกเบี้ยที่ตกเป็นโมฆะ แม้นายประเสริฐจะมิได้ให้การเป็นประเด็นว่าดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 และ 654 แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) เมื่อนางสาวจันทนาไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ย จึงต้องนำดอกเบี้ยที่นายประเสริฐชำระให้แก่นางสาวจันทนาแล้วไปหักชำระออกจากต้นเงิน
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2563)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ