แอบดูหรือส่งคลิปโป๊ในเวลางาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงหรือไม่
แอบดูหรือส่งคลิปโป๊ในเวลางาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงหรือไม่
361 Views
ลูกจ้างนำคลิปลามกอนาจารใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์ของนายจ้างและแอบเปิดดูระหว่างเวลาทำงาน หากนายจ้างจับได้ นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกล่าวล่วงหน้าได้หรือไม่ และการเลิกจ้างดังกล่าวถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
การที่ลูกจ้างนำคลิปลามกอนาจารใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์ของนายจ้างและแอบเปิดดูระหว่างเวลาทำงานนั้น พฤติกรรมดังกล่าวของลูกจ้าง แม้เป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบการใช้คอมพิวเตอร์และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างก็ตาม แต่ก็เป็นการประพฤติตนในลักษณะที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อนายจ้างยังไม่เคยตักเตือนเป็นหนังสือจึงไม่เป็นกรณีที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) แต่การกระทำของลูกจ้างถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างจึงเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 ทั้งเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรและเพียงพอ จึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13735-13736/2558)
# แม้มีการแจกจ่ายคลิปลามกอนาจารไปยังเพื่อนร่วมงาน ก็ไม่ถือเป็นกรณีที่ร้ายแรง เพราะเป็นการกระทำในนามส่วนตัว
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
การที่ลูกจ้างนำคลิปลามกอนาจารใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์ของนายจ้างและแอบเปิดดูระหว่างเวลาทำงานนั้น พฤติกรรมดังกล่าวของลูกจ้าง แม้เป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบการใช้คอมพิวเตอร์และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างก็ตาม แต่ก็เป็นการประพฤติตนในลักษณะที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อนายจ้างยังไม่เคยตักเตือนเป็นหนังสือจึงไม่เป็นกรณีที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) แต่การกระทำของลูกจ้างถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างจึงเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 ทั้งเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรและเพียงพอ จึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13735-13736/2558)
# แม้มีการแจกจ่ายคลิปลามกอนาจารไปยังเพื่อนร่วมงาน ก็ไม่ถือเป็นกรณีที่ร้ายแรง เพราะเป็นการกระทำในนามส่วนตัว
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ