“ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย” กับ “ฉ้อโกง”
“ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย” กับ “ฉ้อโกง”
337 Views
การลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย (Larceny by trick) กับฉ้อโกง (Fraud) นั้น มีจุดเริ่มต้นเหมือนกันคือ “มีการหลอก” แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันคือเมื่อหลอกแล้วจะได้อะไร หากได้กรรมสิทธิ์หรือการครอบครอบทรัพย์ก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกง (ป.อ.มาตรา 341) แต่ถ้าได้เพียงการยึดถือก็เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ (ป.อ.มาตรา 334) เมื่อทั้ง 2 ฐานความผิดมีจุดเริ่มต้นคือการหลอกลวง แต่ได้ไปซึ่งสิทธิเกี่ยวกับตัวทรัพย์ที่แตกต่างกันจึงนำคำว่า “โดยใช้กลอุบาย” มาต่อท้ายคำว่าลักทรัพย์เพื่อจำแนกความแตกต่างระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานฉ้อโกง ลองดูตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่แอดมินนำมาให้พวกเราพิจารณากันในวันนี้นะครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2542 “การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาทรัพย์หลายรายการใส่ในกล่องกระดาษใส่พัดลม และนำผ่านเครื่องเก็บเงินของผู้เสียหายและชำระราคาสินค้าเท่ากับราคาค่าพัดลม 3 เครื่องซึ่งมีราคาน้อยกว่าราคาสินค้าในกล่องกระดาษ เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย .............”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6892/2542 “การที่จำเลยเปลี่ยนเอาป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางซึ่งติดราคา 1,785 บาทออก แล้วนำป้ายราคาโคมไฟอื่นซึ่งติดราคา 134 บาท มาติดแทนแล้วมอบให้พวกของจำเลยนำไปชำระราคาแก่พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหาย มิใช่เอาโคมไฟตั้งโต๊ะไปโดยพลการโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายโดยทุจริต โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าราคาโคมไฟตั้งโต๊ะมีราคา 134 บาท พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายหลงเชื่อยินยอมมอบโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางให้จำเลยโดยรับเงินจากจำเลยไว้เพียง 134 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง”
# จุดแตกต่างระหว่างคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับข้างต้นคือ การลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายนั้นพนักงานของผู้เสียหาย (เจ้าของหรือผู้ครอบครอง) มิได้ส่งมอบทรัพย์ให้โดยความยินยอมจึงไม่ต่างอะไรไปจากการส่งมอบทรัพย์ให้เพราะถูกข่มขู่นั่นเอง กรณีเช่นนี้ถือเป็นการแย่งการครอบครองทรัพย์ในรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นการกระทำโดยการหลอกให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองตายใจส่งมอบทรัพย์ให้แต่โดยดี การลักทรัพย์ประเภทนี้จึงใช้ถ้อยคำว่า “ลักทรัพย์โดยใช้อุบาย”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2542 “การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาทรัพย์หลายรายการใส่ในกล่องกระดาษใส่พัดลม และนำผ่านเครื่องเก็บเงินของผู้เสียหายและชำระราคาสินค้าเท่ากับราคาค่าพัดลม 3 เครื่องซึ่งมีราคาน้อยกว่าราคาสินค้าในกล่องกระดาษ เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย .............”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6892/2542 “การที่จำเลยเปลี่ยนเอาป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางซึ่งติดราคา 1,785 บาทออก แล้วนำป้ายราคาโคมไฟอื่นซึ่งติดราคา 134 บาท มาติดแทนแล้วมอบให้พวกของจำเลยนำไปชำระราคาแก่พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหาย มิใช่เอาโคมไฟตั้งโต๊ะไปโดยพลการโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายโดยทุจริต โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าราคาโคมไฟตั้งโต๊ะมีราคา 134 บาท พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายหลงเชื่อยินยอมมอบโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางให้จำเลยโดยรับเงินจากจำเลยไว้เพียง 134 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง”
# จุดแตกต่างระหว่างคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับข้างต้นคือ การลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายนั้นพนักงานของผู้เสียหาย (เจ้าของหรือผู้ครอบครอง) มิได้ส่งมอบทรัพย์ให้โดยความยินยอมจึงไม่ต่างอะไรไปจากการส่งมอบทรัพย์ให้เพราะถูกข่มขู่นั่นเอง กรณีเช่นนี้ถือเป็นการแย่งการครอบครองทรัพย์ในรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นการกระทำโดยการหลอกให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองตายใจส่งมอบทรัพย์ให้แต่โดยดี การลักทรัพย์ประเภทนี้จึงใช้ถ้อยคำว่า “ลักทรัพย์โดยใช้อุบาย”