สิทธิในการดำเนินคดีอาญาเป็นมรดกหรือไม่
สิทธิในการดำเนินคดีอาญาเป็นมรดกหรือไม่
1853 Views
การที่บิดาซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจไว้แล้ว ต่อมาถึงแก่ความตายจากโรคเบาหวาน บุตรจะดำเนินคดีแทนบิดาต่อไปได้หรือไม่
ป.วิ.อ. มาตรา 2(4) มีหลักว่า “ผู้เสียหาย” หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 ส่วนมาตรา 5(2) มีหลักว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จัดการแทนผู้เสียหายได้เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ และมาตรา 29 มีหลักว่า เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้ ตามปัญหา เมื่อบิดาซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5(2) บุตรจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนบิดาฟ้องผู้กระทำผิดได้ และในกรณีนี้ บิดาเพียงแต่ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้นโดยยังไม่ได้ฟ้องคดี จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 29 ที่บุตรจะดำเนินคดีต่างบิดาผู้ตายต่อไปได้ สิทธิที่บิดาได้ร้องทุกข์ไว้ต่อเจ้าพนักงานตำรวจไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 เพราะการฟ้องคดีต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. เมื่อบุตรไม่ได้เป็นผู้เสียหายตาม มาตรา 2(4) เสียแล้ว จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2547 และ 3395/2525)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.วิ.อ. มาตรา 2(4) มีหลักว่า “ผู้เสียหาย” หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 ส่วนมาตรา 5(2) มีหลักว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จัดการแทนผู้เสียหายได้เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ และมาตรา 29 มีหลักว่า เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้ ตามปัญหา เมื่อบิดาซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5(2) บุตรจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนบิดาฟ้องผู้กระทำผิดได้ และในกรณีนี้ บิดาเพียงแต่ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้นโดยยังไม่ได้ฟ้องคดี จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 29 ที่บุตรจะดำเนินคดีต่างบิดาผู้ตายต่อไปได้ สิทธิที่บิดาได้ร้องทุกข์ไว้ต่อเจ้าพนักงานตำรวจไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 เพราะการฟ้องคดีต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. เมื่อบุตรไม่ได้เป็นผู้เสียหายตาม มาตรา 2(4) เสียแล้ว จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2547 และ 3395/2525)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ