"บ้า"ยังไงไม่ต้องรับโทษ
"บ้า"ยังไงไม่ต้องรับโทษ
323 Views
พวกเราน่าจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “คนบ้า ทำอะไรก็ไม่ผิด” คำกล่าวนี้ เป็นความจริงหรือไม่ แล้วทำไมเราจึงมักเห็นผู้กระทำความผิด (ที่ถูกจับได้) พยายามจะเป็นคนบ้ากัน การกระทำความผิดมีส่วนทำให้คนปกติกลายเป็นคนบ้าได้จริงหรือ แอดมินมีคำตอบครับ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ให้คำนิยามของ “คนที่สติไม่ดี” หรือ “คนบ้า” แบบกว้างๆ ไว้ 3 ประเภท คือ 1 บุคคลวิกลจริต 2 บุคคลไร้ความสามารถ และ 3 บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลทั้งสามประเภทนี้มีความแตกต่างกันในรายละเอียดซึ่งแอดมินจะขออธิบายในภายหลังนะครับ ส่วนในกฎหมายอาญานั้น คนบ้าปรากฏอยู่ใน ป.อ. มาตรา 65 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดกระทำความผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” ดังนั้น การที่จะเข้าเงื่อนไขในการได้รับยกเว้น หรือลดหย่อนโทษนั้น คนบ้าดังกล่าวจะต้องมีอาการหนักถึงขนาดที่ในขณะกระทำความผิดนั้นปราศจากความรู้สึกผิดชอบชั่วดี พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่มีสติ ขาดความยั้งคิด หรือไม่สามารถบังคับการกระทำของตนเองได้ เพราะความบกพร่องทางจิตด้วย # อย่างไรก็ดี กฎหมายยังถือว่าการกระทำความผิดดังกล่าวมีความผิด แต่ศาลอาจจะพิจารณาไม่ลงโทษผู้นั้นก็ได้ แต่หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะกระทำความผิด ผู้กระทำยังมีสติ รู้สำนึก หรือสามารถรู้ผิดชอบชั่วดีอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับการกระทำของตนเองได้อยู่ หรือที่เรียกว่า “คุ้มดีคุ้มร้าย” กฎหมายถือว่าการกระทำความผิดดังกล่าวมีความผิด และผู้กระทำจะต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นอยู่ แต่ศาลอาจจะใช้ดุลยพินิจลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ # แต่หากได้ความว่าขณะกระทำความผิด ผู้กระทำได้กระทำไปโดยมิได้รู้สำนึกในการที่กระทำ ทั้งมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีความผิด เพราะผู้กระทำขาดเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 ส่วนผู้ที่จะบอกว่าบุคคลใดคือคนปกติหรือคนบ้า คือแพทย์เท่านั้น ไม่ใช่ตัวผู้กระทำความผิด หรือบุคคลอื่น ดังนั้น การที่ผู้กระทำความผิดอ้างว่าตนเองเป็นคนบ้า หรือมีเพียงบัตรประจำตัวคนไข้ แต่ยังสามารถให้การในชั้นสอบสวนและเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลได้ตามปกติโดยไม่ปรากฏว่ามีอาการผิดปกติแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าบุคคลดังกล่าวนั้นไม่ใช่คนบ้า และต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกันกับคนปกติ ท้ายสุดนี้ หากเราได้ติดตามข่าวจากสื่อต่างๆ จะเห็นว่าการกระทำความผิดอาญาหลายคดีในระยะหลังนี้ ผู้กระทำมักจะอ้างเรื่องความผิดปกติทางจิตเพื่อหวังให้เป็นประโยชน์ในการรับโทษน้อยลงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ จนทำให้แอดมินนึกถึงเพลงท่อนนึงของวงคาราบาวที่ว่า “ถึงจะบ้าแต่ว่าไม่โง่”
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ให้คำนิยามของ “คนที่สติไม่ดี” หรือ “คนบ้า” แบบกว้างๆ ไว้ 3 ประเภท คือ 1 บุคคลวิกลจริต 2 บุคคลไร้ความสามารถ และ 3 บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลทั้งสามประเภทนี้มีความแตกต่างกันในรายละเอียดซึ่งแอดมินจะขออธิบายในภายหลังนะครับ ส่วนในกฎหมายอาญานั้น คนบ้าปรากฏอยู่ใน ป.อ. มาตรา 65 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดกระทำความผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” ดังนั้น การที่จะเข้าเงื่อนไขในการได้รับยกเว้น หรือลดหย่อนโทษนั้น คนบ้าดังกล่าวจะต้องมีอาการหนักถึงขนาดที่ในขณะกระทำความผิดนั้นปราศจากความรู้สึกผิดชอบชั่วดี พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่มีสติ ขาดความยั้งคิด หรือไม่สามารถบังคับการกระทำของตนเองได้ เพราะความบกพร่องทางจิตด้วย # อย่างไรก็ดี กฎหมายยังถือว่าการกระทำความผิดดังกล่าวมีความผิด แต่ศาลอาจจะพิจารณาไม่ลงโทษผู้นั้นก็ได้ แต่หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะกระทำความผิด ผู้กระทำยังมีสติ รู้สำนึก หรือสามารถรู้ผิดชอบชั่วดีอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับการกระทำของตนเองได้อยู่ หรือที่เรียกว่า “คุ้มดีคุ้มร้าย” กฎหมายถือว่าการกระทำความผิดดังกล่าวมีความผิด และผู้กระทำจะต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นอยู่ แต่ศาลอาจจะใช้ดุลยพินิจลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ # แต่หากได้ความว่าขณะกระทำความผิด ผู้กระทำได้กระทำไปโดยมิได้รู้สำนึกในการที่กระทำ ทั้งมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีความผิด เพราะผู้กระทำขาดเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 ส่วนผู้ที่จะบอกว่าบุคคลใดคือคนปกติหรือคนบ้า คือแพทย์เท่านั้น ไม่ใช่ตัวผู้กระทำความผิด หรือบุคคลอื่น ดังนั้น การที่ผู้กระทำความผิดอ้างว่าตนเองเป็นคนบ้า หรือมีเพียงบัตรประจำตัวคนไข้ แต่ยังสามารถให้การในชั้นสอบสวนและเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลได้ตามปกติโดยไม่ปรากฏว่ามีอาการผิดปกติแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าบุคคลดังกล่าวนั้นไม่ใช่คนบ้า และต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกันกับคนปกติ ท้ายสุดนี้ หากเราได้ติดตามข่าวจากสื่อต่างๆ จะเห็นว่าการกระทำความผิดอาญาหลายคดีในระยะหลังนี้ ผู้กระทำมักจะอ้างเรื่องความผิดปกติทางจิตเพื่อหวังให้เป็นประโยชน์ในการรับโทษน้อยลงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ จนทำให้แอดมินนึกถึงเพลงท่อนนึงของวงคาราบาวที่ว่า “ถึงจะบ้าแต่ว่าไม่โง่”