กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ
กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ
198 Views
นายสรยุทธ์เป็นพนักงานขายรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CLMV ซึ่งมีราคาจำหน่ายคันละ 1,000,000 บาทของ บริษัท นิยมรถไฟฟ้า จำกัด ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งอยู่ที่ต่างประเทศ สำหรับการจองรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CLMV นั้น ผู้ซื้อจะต้องจองรถยนต์ผ่านทางเว็บไซต์ CLMV Thailand เท่านั้น และต้องชำระค่าจองจำนวน 5,000 บาทผ่านบัตรเครดิต เพื่อรับใบหลักฐานการจอง โดยที่ยังไม่ต้องชำระราคารถยนต์ทั้งหมด แต่ให้ชำระในวันที่ได้รับรถยนต์ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว หากยกเลิกการจอง ผู้ซื้อจะไม่สามารถขอรับเงินค่าจองรถยนต์ไฟฟ้าคืนได้ เว้นแต่ 2 กรณี คือ 1.ผู้ซื้อไม่ได้รับรถยนต์ไฟฟ้าภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือ 2.ผู้ซื้อไม่ผ่านการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน นายกรรชัยสนใจรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CLMV ดังกล่าว จึงได้ทำการติดต่อกับนายสรยุทธ์เพื่อให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการจองรถยนต์ไฟฟ้าผ่านเว็บไซต์ ณ ศูนย์บริการรถยนต์ไฟฟ้าของ บริษัท นิยมรถไฟฟ้า จำกัด พร้อมกับชำระค่าจองจำนวน 5,000 บาทผ่านบัตรเครดิต ในวันที่ 9 กันยายน 2566 และกำหนดว่าจะทำการออกรถในวันที่ 10 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00 น. ปรากฏว่าในวันที่ 20 กันยายน 2566 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งอยู่ที่ต่างประเทศได้แจ้งให้ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกของตนรับทราบว่า บริษัทจะทำการประกาศโฆษณาทางทีวีและสื่อออนไลน์ทุกประเภท ลดราคารถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CLMV ลงคันละ 200,000 บาท เหลือเพียง 800,000 บาทในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 โดยกำหนดให้มีผลกับลูกค้าที่มีการจองและรับรถยนต์ยี่ห้อ CLMV ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป วันที่ 25 กันยายน 2566 บริษัท นิยมรถไฟฟ้า จำกัด เกรงว่าหากนายกรรชัยได้เห็นโฆษณาดังกล่าวแล้วจะทิ้งเงินจอง หรือไม่ยอมชำระราคาส่วนที่เหลือ จึงรีบสั่งการให้นายสรยุทธ์โทรศัพท์แจ้งนายกรรชัยว่ารถยนต์ไฟฟ้ามาถึงประเทศไทยก่อนกำหนด และบริษัทยินดีจะนำส่งรถยนต์ไฟฟ้าทางรถสไลด์ให้ถึงที่พักอาศัยของนายกรรชัยในวันที่ 30 กันยายน 2566 พร้อมรับชำระราคารถยนต์ไฟฟ้าส่วนที่เหลือ (เต็มจำนวน) ในวันดังกล่าว หากนายกรรชัยไม่รับรถยนต์ไฟฟ้าในล็อตนี้อาจจะต้องรออีกเป็นระยะเวลานาน เพราะปัจจุบันมียอดจองของลูกค้าเป็นจำนวนมากซึ่งไม่เป็นความจริง นายกรรชัยจึงตกลงตามข้อเสนอดังกล่าวแม้จะไม่ตรงกับวันรับรถยนต์ไฟฟ้าที่กำหนดไว้เดิม ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2566 นายกรรชัยได้เห็นโฆษณาประกาศปรับลดราคารถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CLMV ลงคันละ 200,000 บาท จึงทำให้เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก และต้องการขอยกเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CLMV ที่รับมาแล้ว มีคำถามว่า นายกรรชัยจะมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวได้หรือไม่ แอดมินมีความเห็นดังนี้ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 161 มีหลักว่า “ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้” ตามปัญหา การที่ บริษัท นิยมรถไฟฟ้า จำกัด ทราบว่าบริษัทที่ต่างประเทศมีนโยบายปรับลดราคารถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CLMV ลงคันละ 200,000 บาท เหลือเพียง 800,000 บาท โดยกำหนดให้มีผลกับลูกค้าทุกรายที่มีการจองและรับรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CLMV ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป จึงรีบสั่งการให้นายสรยุทธ์โทรศัพท์แจ้งนายกรรชัยว่ารถยนต์ไฟฟ้ามาถึงประเทศไทยก่อนกำหนด และบริษัทยินดีจะนำส่งรถยนต์ไฟฟ้าทางรถสไลด์ให้ถึงที่พักอาศัยของนายกรรชัยในวันที่ 30 กันยายน 2566 พร้อมรับชำระราคาส่วนที่เหลือ (เต็มจำนวน) ในวันดังกล่าว หากนายกรรชัยไม่รับรถยนต์ไฟฟ้าในล็อตนี้อาจจะต้องรออีกเป็นระยะเวลานาน เพราะปัจจุบันมียอดจองของลูกค้าเป็นจำนวนมากซึ่งไม่เป็นความจริงนั้น เป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงการที่นายกรรชัยจะเห็นโฆษณาประกาศปรับลดราคารถยนต์ไฟฟ้าในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 และอาจจะทิ้งเงินจอง หรือไม่ยอมชำระราคาส่วนที่เหลือ จึงเป็นการที่ บริษัท นิยมรถไฟฟ้า จำกัด ทำกลฉ้อฉลให้นายกรรชัยซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่แพงกว่าความเป็นจริงเท่านั้น เป็นกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ นายกรรชัยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว แต่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนคือราคาที่เพิ่มขึ้นจำนวน 200,000 บาท
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 161 มีหลักว่า “ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้” ตามปัญหา การที่ บริษัท นิยมรถไฟฟ้า จำกัด ทราบว่าบริษัทที่ต่างประเทศมีนโยบายปรับลดราคารถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CLMV ลงคันละ 200,000 บาท เหลือเพียง 800,000 บาท โดยกำหนดให้มีผลกับลูกค้าทุกรายที่มีการจองและรับรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CLMV ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป จึงรีบสั่งการให้นายสรยุทธ์โทรศัพท์แจ้งนายกรรชัยว่ารถยนต์ไฟฟ้ามาถึงประเทศไทยก่อนกำหนด และบริษัทยินดีจะนำส่งรถยนต์ไฟฟ้าทางรถสไลด์ให้ถึงที่พักอาศัยของนายกรรชัยในวันที่ 30 กันยายน 2566 พร้อมรับชำระราคาส่วนที่เหลือ (เต็มจำนวน) ในวันดังกล่าว หากนายกรรชัยไม่รับรถยนต์ไฟฟ้าในล็อตนี้อาจจะต้องรออีกเป็นระยะเวลานาน เพราะปัจจุบันมียอดจองของลูกค้าเป็นจำนวนมากซึ่งไม่เป็นความจริงนั้น เป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงการที่นายกรรชัยจะเห็นโฆษณาประกาศปรับลดราคารถยนต์ไฟฟ้าในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 และอาจจะทิ้งเงินจอง หรือไม่ยอมชำระราคาส่วนที่เหลือ จึงเป็นการที่ บริษัท นิยมรถไฟฟ้า จำกัด ทำกลฉ้อฉลให้นายกรรชัยซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่แพงกว่าความเป็นจริงเท่านั้น เป็นกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ นายกรรชัยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว แต่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนคือราคาที่เพิ่มขึ้นจำนวน 200,000 บาท
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ