เงินจูงใจ หรือค่าคอมมิชชั่น เป็นค่าจ้างหรือไม่
เงินจูงใจ หรือค่าคอมมิชชั่น เป็นค่าจ้างหรือไม่
3098 Views
ค่าตอบแทนเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ด้วยเหตุนี้นายจ้างหลายรายจึงมีการนำเงินจูงใจ หรือค่าคอมมิชชั่นมาใช้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นหรือเพิ่มศักยภาพของลูกจ้างเพื่อให้การทำงานบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ดี เราทราบหรือไม่ว่า เงินจูงใจ หรือค่าคอมมิชชั่นนั้น เป็นค่าจ้างหรือไม่
การที่จะพิจารณาว่าเงินจูงใจ (Incentive) หรือค่าคอมมิชชั่น (commission) เป็นค่าจ้างหรือไม่นั้น จะต้องดูที่วัตถุประสงค์ เงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ของการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นสำคัญ กล่าวคือ หากเป็นการจ่ายเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานตามสัญญาจ้าง (โดยตรง) หรือจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นประจำ มีจำนวนที่แน่นอน อีกทั้งไม่ปรากฏวัตถุประสงค์การจ่ายเป็นประการอื่น เช่น ทำมากทำน้อยเพียงใดก็จ่าย ค่าตอบแทนดังกล่าวย่อมถือเป็นค่าจ้าง ซึ่งมีผลถึงการที่ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ และค่าชดเชย # แต่หากเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ เงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ที่ชัดแจ้งว่าเพื่อเป็นการจูงใจให้ลูกจ้างทำงานเพิ่มขึ้น หรือเพื่อเป็นรางวัล อีกทั้งยังจ่ายเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี โดยมีลักษณะที่ไม่แน่นอน และไม่ใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรงตามสัญญาจ้าง เช่น หากทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดก็จะไม่ได้รับเงิน ค่าตอบแทนดังกล่าวย่อมไม่ถือเป็นค่าจ้าง # ดังนั้น ชื่อเรียกจึงไม่ใช่สาระสำคัญที่จะถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดและตกลงร่วมกัน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2524, 3759/2546 และ 3733/2560)
การที่จะพิจารณาว่าเงินจูงใจ (Incentive) หรือค่าคอมมิชชั่น (commission) เป็นค่าจ้างหรือไม่นั้น จะต้องดูที่วัตถุประสงค์ เงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ของการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นสำคัญ กล่าวคือ หากเป็นการจ่ายเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานตามสัญญาจ้าง (โดยตรง) หรือจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นประจำ มีจำนวนที่แน่นอน อีกทั้งไม่ปรากฏวัตถุประสงค์การจ่ายเป็นประการอื่น เช่น ทำมากทำน้อยเพียงใดก็จ่าย ค่าตอบแทนดังกล่าวย่อมถือเป็นค่าจ้าง ซึ่งมีผลถึงการที่ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ และค่าชดเชย # แต่หากเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ เงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ที่ชัดแจ้งว่าเพื่อเป็นการจูงใจให้ลูกจ้างทำงานเพิ่มขึ้น หรือเพื่อเป็นรางวัล อีกทั้งยังจ่ายเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี โดยมีลักษณะที่ไม่แน่นอน และไม่ใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรงตามสัญญาจ้าง เช่น หากทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดก็จะไม่ได้รับเงิน ค่าตอบแทนดังกล่าวย่อมไม่ถือเป็นค่าจ้าง # ดังนั้น ชื่อเรียกจึงไม่ใช่สาระสำคัญที่จะถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดและตกลงร่วมกัน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2524, 3759/2546 และ 3733/2560)