MOU, MOA และ LOI ถือเป็นสัญญาหรือไม่
MOU, MOA และ LOI ถือเป็นสัญญาหรือไม่
1935 Views
ระบบกฎหมายของไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตก โดยเฉพาะประเทศอังกฤษและภาคพื้นยุโรป เช่น การตีความกฎหมาย การจัดทำประมวลกฎหมาย รวมถึงการยึดถือแนวคำวินิจฉัยของศาลสูง ในเรื่องการจัดทำเอกสารทางกฎหมาย ก็เช่นกัน มีการนำเอารูปแบบและแนวคิดของประเทศตะวันตกมาใช้กับเอกสารต่าง ๆ เช่น MOU, MOA และ LOI เป็นต้น จึงมีคำถามว่า MOU, MOA และ LOI ถือเป็นสัญญาหรือไม่
Memorandum of Understanding (MOU) หรือ บันทึกความเข้าใจ เป็นรูปแบบการแสดงออกของบุคคล (หรือนิติบุคคล) ตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในภาพกว้างร่วมกัน ในความหมายนี้ MOU จึงเปรียบเสมือนกับสัญญาใจระหว่างกัน แต่ยังไม่ถือเป็นสัญญาเนื่องจากยังไม่มีสภาพบังคับที่แน่นอน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหรือมีการฝ่าฝืนข้อตกลงร่วมกันดังกล่าว ตัวอย่างของเอกสารประเภทนี้ได้แก่ MOU ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับผู้ประกอบการในการส่งนักเรียนหรือนักศึกษาให้เข้ารับการฝึกงาน หรือ MOU ระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ประสงค์จะร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาล เป็นต้น
Memorandum of Agreement (MOA) หรือ บันทึกข้อตกลง หมายถึงหนังสือสัญญาที่มีข้อตกลงกำหนดให้บุคคลผู้ทำสัญญา (หรือนิติบุคคล) ตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหรือมีการฝ่าฝืนข้อตกลงร่วมกันดังกล่าว อีกฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องร้องบังคับกันได้
Letter of Intent (LOI) หรือ หนังสือแสดงเจตจำนง หรือ หนังสือแสดงเจตนา หมายถึงหนังสือที่มีลักษณะเป็นกรอบความร่วมมือคร่าว ๆ ภายหลังการเจรา ก่อนที่บุคคล (หรือนิติบุคคล) ผู้ทำสัญญาจะทำ MOU หรือ MOA กันต่อไป ตัวอย่างของเอกสารประเภทนี้ได้แก่ LOI การขอรับบริการ, LOI การรับเงินช่วยเหลือ, LOI การจ้าง (สัญญาก่อสร้าง), LOI เช่าอสังหาริมทรัพย์, LOI ร่วมลงทุน หรือ LOI ควบรวมกิจการ เป็นต้น
# อย่างไรก็ดี แม้จะใช้ชื่อว่า MOU หรือ LOI ก็ตาม แต่หากนิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาประสงค์ที่จะผูกพันโดยมีการกำหนดเงื่อนไขความรับผิด, การบังคับให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม, มีข้อตกลงที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าหรือเบี้ยปรับ หรือก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ แก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย MOU หรือ LOI ดังกล่าวก็จะกลายเป็นสัญญาโดยทันที เพราะชื่อของเอกสารไม่สำคัญเท่ากับเนื้อหาสาระและเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา (The true intention or agreement of the parties)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
Memorandum of Understanding (MOU) หรือ บันทึกความเข้าใจ เป็นรูปแบบการแสดงออกของบุคคล (หรือนิติบุคคล) ตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในภาพกว้างร่วมกัน ในความหมายนี้ MOU จึงเปรียบเสมือนกับสัญญาใจระหว่างกัน แต่ยังไม่ถือเป็นสัญญาเนื่องจากยังไม่มีสภาพบังคับที่แน่นอน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหรือมีการฝ่าฝืนข้อตกลงร่วมกันดังกล่าว ตัวอย่างของเอกสารประเภทนี้ได้แก่ MOU ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับผู้ประกอบการในการส่งนักเรียนหรือนักศึกษาให้เข้ารับการฝึกงาน หรือ MOU ระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ประสงค์จะร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาล เป็นต้น
Memorandum of Agreement (MOA) หรือ บันทึกข้อตกลง หมายถึงหนังสือสัญญาที่มีข้อตกลงกำหนดให้บุคคลผู้ทำสัญญา (หรือนิติบุคคล) ตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหรือมีการฝ่าฝืนข้อตกลงร่วมกันดังกล่าว อีกฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องร้องบังคับกันได้
Letter of Intent (LOI) หรือ หนังสือแสดงเจตจำนง หรือ หนังสือแสดงเจตนา หมายถึงหนังสือที่มีลักษณะเป็นกรอบความร่วมมือคร่าว ๆ ภายหลังการเจรา ก่อนที่บุคคล (หรือนิติบุคคล) ผู้ทำสัญญาจะทำ MOU หรือ MOA กันต่อไป ตัวอย่างของเอกสารประเภทนี้ได้แก่ LOI การขอรับบริการ, LOI การรับเงินช่วยเหลือ, LOI การจ้าง (สัญญาก่อสร้าง), LOI เช่าอสังหาริมทรัพย์, LOI ร่วมลงทุน หรือ LOI ควบรวมกิจการ เป็นต้น
# อย่างไรก็ดี แม้จะใช้ชื่อว่า MOU หรือ LOI ก็ตาม แต่หากนิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาประสงค์ที่จะผูกพันโดยมีการกำหนดเงื่อนไขความรับผิด, การบังคับให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม, มีข้อตกลงที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าหรือเบี้ยปรับ หรือก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ แก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย MOU หรือ LOI ดังกล่าวก็จะกลายเป็นสัญญาโดยทันที เพราะชื่อของเอกสารไม่สำคัญเท่ากับเนื้อหาสาระและเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา (The true intention or agreement of the parties)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ