หนังสือที่ลูกจ้างกระทำต่อนายจ้างว่าจะไม่กระทำผิดกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับอีก หากกระทำผิดซ้ำตกลงให้นายจ้างเลิกจ้างได้ ถือเป็นหนังสือเตือนหรือไม่
หนังสือที่ลูกจ้างกระทำต่อนายจ้างว่าจะไม่กระทำผิดกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับอีก หากกระทำผิดซ้ำตกลงให้นายจ้างเลิกจ้างได้ ถือเป็นหนังสือเตือนหรือไม่
247 Views
หนังสือที่ลูกจ้างกระทำต่อนายจ้างว่าจะไม่กระทำผิดกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับอีก หากกระทำผิดซ้ำตกลงให้นายจ้างเลิกจ้างได้ ถือเป็นหนังสือเตือนหรือไม่
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119(4) มีหลักว่า “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน อนึ่ง หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด” จากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น หนังสือเตือนจึงต้องประกอบด้วยข้อความซึ่งแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างให้เพียงพอที่ลูกจ้างจะเข้าใจการกระทำของตน และต้องมีข้อความที่มีลักษณะเป็นการเตือนโดยห้ามไม่ให้ลูกจ้างกระทำการเช่นนั้นซ้ำอีก โดยลักษณะของหนังสือเตือนจึงต้องเป็นเอกสารที่ออกโดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างเท่านั้น ดังนั้น หนังสือที่ลูกจ้างกระทำต่อนายจ้างว่าจะไม่กระทำผิดกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับอีก หากกระทำผิดซ้ำตกลงให้นายจ้างเลิกจ้างได้ จึงไม่ถือเป็นหนังสือเตือน แต่เป็นเพียงคำมั่นเกี่ยวกับความประพฤติของลูกจ้าง เพราะโดยลักษณะแล้วลูกจ้างย่อมไม่อาจตักเตือนตนเองได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18571-18572/2557)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119(4) มีหลักว่า “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน อนึ่ง หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด” จากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น หนังสือเตือนจึงต้องประกอบด้วยข้อความซึ่งแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างให้เพียงพอที่ลูกจ้างจะเข้าใจการกระทำของตน และต้องมีข้อความที่มีลักษณะเป็นการเตือนโดยห้ามไม่ให้ลูกจ้างกระทำการเช่นนั้นซ้ำอีก โดยลักษณะของหนังสือเตือนจึงต้องเป็นเอกสารที่ออกโดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างเท่านั้น ดังนั้น หนังสือที่ลูกจ้างกระทำต่อนายจ้างว่าจะไม่กระทำผิดกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับอีก หากกระทำผิดซ้ำตกลงให้นายจ้างเลิกจ้างได้ จึงไม่ถือเป็นหนังสือเตือน แต่เป็นเพียงคำมั่นเกี่ยวกับความประพฤติของลูกจ้าง เพราะโดยลักษณะแล้วลูกจ้างย่อมไม่อาจตักเตือนตนเองได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18571-18572/2557)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ