เช็คถือเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินหรือไม่
เช็คถือเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินหรือไม่
580 Views
เช็คยังคงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการชำระหนี้ที่ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน เนื่องจากมีความปลอดภัยมากกว่าการนำเงินสดไปจ่ายชำระ ทำให้สามารถกำหนดเวลาในการบริหารเงินสดเพื่อให้กิจการมีสภาพคล่องในการหมุนเวียน และมีหลักฐานในการทำธุรกรรมกับทางธนาคาร อย่างไรก็ดี มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีการสั่งจ่ายเช็คแทนการกู้ยืมเงิน จึงมีคำถามว่า เช็คถือเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินหรือไม่
เช็ค คือ เอกสารในรูปแบบของตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า "ผู้สั่งจ่าย" สั่ง "ธนาคาร" ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้รับเงิน" ส่วนการกู้ยืมเงินนั้นถือเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองอย่างหนึ่งซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 653 ว.1 มีหลักว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น โดยสภาพของเช็คนั้นถือเป็นการใช้เงิน ไม่ใช่การกู้หรือยืมเงิน เช็คจึงมิใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมมาแสดง เช็คพิพาทจึงไม่มีมูลหนี้ และไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คแต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11637/2556)
เช็ค คือ เอกสารในรูปแบบของตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า "ผู้สั่งจ่าย" สั่ง "ธนาคาร" ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้รับเงิน" ส่วนการกู้ยืมเงินนั้นถือเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองอย่างหนึ่งซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 653 ว.1 มีหลักว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น โดยสภาพของเช็คนั้นถือเป็นการใช้เงิน ไม่ใช่การกู้หรือยืมเงิน เช็คจึงมิใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมมาแสดง เช็คพิพาทจึงไม่มีมูลหนี้ และไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คแต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11637/2556)