ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยวางเงินต่อศาลจำนวน 1,000,000 บาท เพื่อให้ผู้เสียหายมารับไป หากผู้เสียหายปฏิเสธไม่รับเพราะเห็นว่าควรเป็นจำนวนเงิน 30,000,000 บาท แต่ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นนัดมาสอบถาม ผู้เสียหายแถลงต่อศาลว่าขอรับเงินจำนวนดังกล่าวไป จำเลยจะขอถอนเงินที่วางไว้โดยอ้างว่าไม่ปรากฏเรื่องเงินจำนวน 1,000,000 บาทในคำฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งเกี่ยวกับเงินดังกล่าวได้หรือไม่
ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยวางเงินต่อศาลจำนวน 1,000,000 บาท เพื่อให้ผู้เสียหายมารับไป หากผู้เสียหายปฏิเสธไม่รับเพราะเห็นว่าควรเป็นจำนวนเงิน 30,000,000 บาท แต่ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นนัดมาสอบถาม ผู้เสียหายแถลงต่อศาลว่าขอรับเงินจำนวนดังกล่าวไป จำเลยจะขอถอนเงินที่วางไว้โดยอ้างว่าไม่ปรากฏเรื่องเงินจำนวน 1,000,000 บาทในคำฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งเกี่ยวกับเงินดังกล่าวได้หรือไม่
343 Views
ปัจจุบันประเด็นเรื่องการชดใช้ค่าเสียหายเพื่อเป็นเหตุบรรเทาโทษหรือเหตุลดโทษกำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงมีคำถามว่า ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยวางเงินต่อศาลจำนวน 1,000,000 บาท เพื่อให้ผู้เสียหายมารับไป หากผู้เสียหายปฏิเสธไม่รับเพราะเห็นว่าควรเป็นจำนวนเงิน 30,000,000 บาท แต่ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นนัดมาสอบถาม ผู้เสียหายแถลงต่อศาลว่าขอรับเงินจำนวนดังกล่าวไป จำเลยจะขอถอนเงินที่วางไว้โดยอ้างว่าไม่ปรากฏเรื่องเงินจำนวน 1,000,000 บาทในคำฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งเกี่ยวกับเงินดังกล่าวได้หรือไม่
การที่จำเลยวางเงินต่อศาลเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปก็เพื่อเป็นการบรรเทาผลร้ายจากการกระทำผิดของจำเลย และจำเลยยังประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยสถานเบาด้วย ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้จำเลยแล้ว ทั้งการวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับนั้นย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยจะไม่ถอนเงินออกไป หากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น การที่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเงินในครั้งแรกก็เนื่องด้วยเห็นว่าเป็นจำนวนน้อยเกินไปมิใช่ไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียหาย หรือไม่ประสงค์จะรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาล และเมื่อศาลได้สอบถามแล้ว ผู้เสียหายประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้ แม้คดีนี้จะเป็นคดีอาญาและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือมีคำขอเกี่ยวกับเงินค่าเสียหาย แต่จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายโดยประสงค์จะให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบา การวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดี ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.อ. มาตรา 192
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2544)
การที่จำเลยวางเงินต่อศาลเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปก็เพื่อเป็นการบรรเทาผลร้ายจากการกระทำผิดของจำเลย และจำเลยยังประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยสถานเบาด้วย ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้จำเลยแล้ว ทั้งการวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับนั้นย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยจะไม่ถอนเงินออกไป หากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น การที่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเงินในครั้งแรกก็เนื่องด้วยเห็นว่าเป็นจำนวนน้อยเกินไปมิใช่ไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียหาย หรือไม่ประสงค์จะรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาล และเมื่อศาลได้สอบถามแล้ว ผู้เสียหายประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้ แม้คดีนี้จะเป็นคดีอาญาและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือมีคำขอเกี่ยวกับเงินค่าเสียหาย แต่จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายโดยประสงค์จะให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบา การวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดี ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.อ. มาตรา 192
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2544)