การที่พนักงานขายสินค้ารับเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วไม่ส่งมอบให้แก่นายจ้าง และถูกจับได้ นายจ้างจึงให้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้ แต่ลูกจ้างก็มิได้ชำระหนี้ตามสัญญาแต่อย่างใด ต่อมา หากนายจ้างฟ้องให้ลูกจ้างรับผิดฐานละเมิดและเรียกทรัพย์สินคืน เกินกว่า 1 ปีนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ คดีจะขาดอายุความหรือไม่
การที่พนักงานขายสินค้ารับเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วไม่ส่งมอบให้แก่นายจ้าง และถูกจับได้ นายจ้างจึงให้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้ แต่ลูกจ้างก็มิได้ชำระหนี้ตามสัญญาแต่อย่างใด ต่อมา หากนายจ้างฟ้องให้ลูกจ้างรับผิดฐานละเมิดและเรียกทรัพย์สินคืน เกินกว่า 1 ปีนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ คดีจะขาดอายุความหรือไม่
602 Views
หน้าที่และความรับผิดชอบหลักของพนักงานขายสินค้า นอกจากการขายสินค้าให้กับลูกค้าแล้ว การดูแลและให้บริการลูกค้า ตลอดจนการติดตามผลหลังการขาย เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน อย่างไรก็ดี นอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีหน้าที่ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ การนำเงินค่าสินค้าดังกล่าวส่งมอบให้แก่นายจ้างจนครบถ้วน จึงมีคำถามว่า การที่พนักงานขายสินค้ารับเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วไม่ส่งมอบให้แก่นายจ้าง และถูกจับได้ นายจ้างจึงให้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้ แต่ลูกจ้างก็มิได้ชำระหนี้ตามสัญญาแต่อย่างใด ต่อมา หากนายจ้างฟ้องให้ลูกจ้างรับผิดฐานละเมิดและเรียกทรัพย์สินคืน เกินกว่า 1 ปีนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ คดีจะขาดอายุความหรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ในเรื่องอายุความกรณีความรับผิดทางละเมิดนั้น ป.พ.พ. มาตรา 448 มีหลักว่า “สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความ เมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด” ส่วนเรื่องตัวแทนนั้น มาตรา 797 และ มาตรา 810 มีหลักว่า “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น” ส่วนสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้น มาตรา 1336 มีหลักว่า “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สิน มีสิทธิใช้สอย และจำหน่ายทรัพย์สินของตน และได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย” จากหลักกฎหมายดังกล่าว การที่ลูกจ้างทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่นายจ้างทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามกฎหมาย แต่ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากมูลละเมิดมาเป็นสัญญา อันจะทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับไปแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี การที่ลูกจ้างทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับเงินค่าสินค้าจากลูกค้า แล้วไม่ส่งมอบให้แก่นายจ้าง ย่อมเป็นทั้งละเมิดและเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ตัวแทนตามสัญญาจ้าง นายจ้างจึงมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายในการละเมิด หรือติดตามเอาทรัพย์ของนายจ้างที่ลูกจ้างเอาไปได้ การฟ้องเรียกให้ลูกจ้างคืนเงิน จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของนายจ้างคืนจากลูกจ้างผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์สินของนายจ้างไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลา เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างถูกกำจัดด้วยอายุความได้สิทธิ นายจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากลูกจ้างได้ แม้จะเกิน 1 ปี คดีดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2533)
ในเรื่องอายุความกรณีความรับผิดทางละเมิดนั้น ป.พ.พ. มาตรา 448 มีหลักว่า “สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความ เมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด” ส่วนเรื่องตัวแทนนั้น มาตรา 797 และ มาตรา 810 มีหลักว่า “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น” ส่วนสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้น มาตรา 1336 มีหลักว่า “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สิน มีสิทธิใช้สอย และจำหน่ายทรัพย์สินของตน และได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย” จากหลักกฎหมายดังกล่าว การที่ลูกจ้างทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่นายจ้างทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามกฎหมาย แต่ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากมูลละเมิดมาเป็นสัญญา อันจะทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับไปแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี การที่ลูกจ้างทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับเงินค่าสินค้าจากลูกค้า แล้วไม่ส่งมอบให้แก่นายจ้าง ย่อมเป็นทั้งละเมิดและเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ตัวแทนตามสัญญาจ้าง นายจ้างจึงมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายในการละเมิด หรือติดตามเอาทรัพย์ของนายจ้างที่ลูกจ้างเอาไปได้ การฟ้องเรียกให้ลูกจ้างคืนเงิน จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของนายจ้างคืนจากลูกจ้างผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์สินของนายจ้างไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลา เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างถูกกำจัดด้วยอายุความได้สิทธิ นายจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากลูกจ้างได้ แม้จะเกิน 1 ปี คดีดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2533)