ข้อความสนทนายืมเงินกันทาง SMS หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ สามารถใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้หรือไม่
ข้อความสนทนายืมเงินกันทาง SMS หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ สามารถใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้หรือไม่
448 Views
หากพูดถึงอาวุธที่มีพลังทำลายล้างรุนแรงที่สุดในโลก บางคนอาจนึกถึงระเบิดไฮโดรเจน หรือระเบิดนิวเคลียร์ หรืออาวุธชีวภาพ ซึ่งก็น่าจะเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันของโลก ณ ขณะนี้ แต่บางคนอาจเห็นว่า แท้จริงอาวุธที่มีพลานุภาพสูงที่สุดควรจะเป็น “สมาร์ทโฟน” เพราะตั้งแต่สมาร์ทโฟนเครื่องแรกของโลกได้ถูกผลิตขึ้นมาเมื่อหลายสิบปีก่อน หลายสิ่งหลายอย่างในโลกนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องมาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวและสังคมที่ลดน้อยลง และบางคนถึงขั้นเป็นโรคติดโทรศัพท์มือถือ หรือโรคโนโมโฟเบีย (Nomophobia) อย่างไรก็ดี อีกด้านหนึ่ง สมาร์ทโฟนนั้นได้สร้างคุณประโยชน์อย่างมากมายให้กับโลกใบนี้ เพราะในสมาร์ทโฟนมีแอพพลิเคชั่น หรือโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ต่อพวงต่างๆ เพื่อให้ทำงานตามคำสั่ง และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้ เช่น การนำทางให้เราสามารถไปยังสถานที่ที่ไม่เคยไปได้อย่างแม่นยำ การถ่ายภาพ การดูแลสุขภาพ รวมทั้งการทำธุรกรรมทางการเงิน แต่ประโยชน์หลักจริงๆ คือความสามารถในการเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่มีความสะดวกรวดเร็ว กะทัดรัด และมีประสิทธิภาพ จนเปรียบเสมือนเป็นปัจจัยติดตัวที่พวกเราใช้ในการดำรงชีวิต กิจกรรมทุกอย่างจึงอาจเกิดขึ้นและถูกบันทึกลงบนสมาร์ทโฟน จึงมีคำถามว่า ข้อความสนทนายืมเงินกันทาง SMS หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ สามารถใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้หรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้ถูกบัญญัติขึ้นมา เพื่อใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีหลักว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว นอกจากนี้ ห้ามไม่ให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย ทั้งนี้ คำเสนอหรือคำสนองในการทำสัญญา อาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยการแสดงเจตนาหรือคำบอกกล่าวอาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และบุคคลใดเป็นผู้ส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยวิธีใดให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้นั้น” เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 653 มีหลักว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ และในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว” ดังนั้น ข้อความสนทนายืมเงินกันทาง SMS หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีข้อความครบถ้วนว่าได้ยืมเงินกันเป็นจำนวนเท่าไหร่ และจะใช้คืนเมื่อไหร่ โดยมีหลักฐานว่าได้รับเงินเรียบร้อยแล้วตามจำนวนที่ยืม จึงสามารถใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้ ส่วนการกู้ยืมเงินไม่เกิน 2,000 บาทนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องทำหลักฐานการกู้ยืมเงินต่อกันแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะตกลงกันด้วยวาจาก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามกฎหมายครับ
พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้ถูกบัญญัติขึ้นมา เพื่อใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีหลักว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว นอกจากนี้ ห้ามไม่ให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย ทั้งนี้ คำเสนอหรือคำสนองในการทำสัญญา อาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยการแสดงเจตนาหรือคำบอกกล่าวอาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และบุคคลใดเป็นผู้ส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยวิธีใดให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้นั้น” เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 653 มีหลักว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ และในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว” ดังนั้น ข้อความสนทนายืมเงินกันทาง SMS หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีข้อความครบถ้วนว่าได้ยืมเงินกันเป็นจำนวนเท่าไหร่ และจะใช้คืนเมื่อไหร่ โดยมีหลักฐานว่าได้รับเงินเรียบร้อยแล้วตามจำนวนที่ยืม จึงสามารถใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้ ส่วนการกู้ยืมเงินไม่เกิน 2,000 บาทนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องทำหลักฐานการกู้ยืมเงินต่อกันแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะตกลงกันด้วยวาจาก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามกฎหมายครับ