การเรี่ยไรค่าปรับ
การเรี่ยไรค่าปรับ
248 Views
นายห้าวไม่พอใจนายศรีที่มักจะทำตัวให้เป็นข่าวออกสื่อร้องเรียนพรรคการเมืองต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ วันเกิดเหตุนายห้าวพบนายศรีที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งจึงเข้าไปต่อว่าและตบหน้านายศรีอย่างแรงจำนวน 1 ครั้ง จนใบหน้าของนายศรีเป็นแผล มีรอยถลอก และบวมช้ำ นายศรีจึงได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีในข้อหาทำร้ายร่างกาย ซึ่งต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องนายห้าวในข้อหาทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ.มาตรา 391 ระหว่างการพิจารณา นายห้าวขอเรี่ยไรค่าปรับจากญาติพี่น้อง และตั้งโต๊ะรับบริจาคที่หน้าห้างสรรพสินค้าที่ทำร้ายนายศรีโดยโฆษณาว่าการกระทำดังกล่าวของตนเป็นการทำแทนพี่น้องประชาชนที่หมั่นไส้นายศรี ต่อมา ศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกนายห้าวเป็นเวลา 1 เดือน และปรับเป็นเงิน 10,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ก่อน จึงมีคำถามว่า นอกจากความผิดที่ศาลพิพากษาลงโทษในคดีทำร้ายร่างกายนายศรีแล้ว นายห้าวจะมีความผิดอย่างใดหรือไม่
พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 มาตรา 5(1) ได้กำหนดห้ามมิให้จัดให้มีการเรี่ยไรหรือทำการเรี่ยไรเพื่อรวบรวมทรัพย์สินมาให้หรือชดใช้แก่จำเลย เพื่อใช้เป็นค่าปรับ เว้นแต่จะเป็นการเรี่ยไรในระหว่างวงศ์ญาติของจำเลย ดังนั้น การที่นายห้าวขอเรี่ยไรค่าปรับจากญาติพี่น้องจึงไม่เป็นความผิด แต่การที่นายห้าวตั้งโต๊ะรับบริจาคที่หน้าห้างสรรพสินค้าที่ทำร้ายนายศรี ถือเป็นการเรี่ยไรในที่สาธารณะซึ่งจะจัดให้มีหรือทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว การกระทำดังกล่าวของนายห้าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 5 และมาตรา 8 ว.1 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ ทั้งนี้ ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับเดียวกัน
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 มาตรา 5(1) ได้กำหนดห้ามมิให้จัดให้มีการเรี่ยไรหรือทำการเรี่ยไรเพื่อรวบรวมทรัพย์สินมาให้หรือชดใช้แก่จำเลย เพื่อใช้เป็นค่าปรับ เว้นแต่จะเป็นการเรี่ยไรในระหว่างวงศ์ญาติของจำเลย ดังนั้น การที่นายห้าวขอเรี่ยไรค่าปรับจากญาติพี่น้องจึงไม่เป็นความผิด แต่การที่นายห้าวตั้งโต๊ะรับบริจาคที่หน้าห้างสรรพสินค้าที่ทำร้ายนายศรี ถือเป็นการเรี่ยไรในที่สาธารณะซึ่งจะจัดให้มีหรือทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว การกระทำดังกล่าวของนายห้าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 5 และมาตรา 8 ว.1 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ ทั้งนี้ ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับเดียวกัน
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ