ความผิดอาญาแผ่นดิน ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจไปแจ้งความร้องทุกข์ แต่ตามเนื้อความในสำเนารายงานประจำวัน รับแจ้งเป็นหลักฐานเป็นการแจ้งความโดยที่ยังไม่ประสงค์จะให้ดำเนินคดี พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการจะมีอำนาจฟ้องหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้มีคำตอบครับ
ความผิดอาญาแผ่นดิน ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจไปแจ้งความร้องทุกข์ แต่ตามเนื้อความในสำเนารายงานประจำวัน รับแจ้งเป็นหลักฐานเป็นการแจ้งความโดยที่ยังไม่ประสงค์จะให้ดำเนินคดี พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการจะมีอำนาจฟ้องหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้มีคำตอบครับ
1327 Views
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2563
เมื่อจำเลยทั้งสองเข้ามอบตัวพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362, 364 และ มาตรา 365(2) ซึ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่ห้ามพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อมีความผิดอาญาแผ่นดินเกิดหรืออ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่ต้องสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพื่อเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษผู้กระทำผิดหรือไม่ ดังนั้น แม้ตามเนื้อความในสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานจะเป็นการแจ้งความโดยที่ยังไม่ประสงค์จะให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแก่จาเลยที่ 1 เท่านั้น พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนคดีนี้และดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย และมีอำนาจสอบปากคำผู้ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดได้ การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
เมื่อจำเลยทั้งสองเข้ามอบตัวพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362, 364 และ มาตรา 365(2) ซึ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่ห้ามพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อมีความผิดอาญาแผ่นดินเกิดหรืออ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่ต้องสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพื่อเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษผู้กระทำผิดหรือไม่ ดังนั้น แม้ตามเนื้อความในสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานจะเป็นการแจ้งความโดยที่ยังไม่ประสงค์จะให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแก่จาเลยที่ 1 เท่านั้น พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนคดีนี้และดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย และมีอำนาจสอบปากคำผู้ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดได้ การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ