กฎกระทรวง และพระราชกฤษฎีกา ถือเป็น "บทบัญญัติแห่งกฎหมาย" ตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือไม่ และศาลจะต้องดำเนินการอย่างไร หากคู่ความโต้แย้งว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ

28 Views
# รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 5 ว.1 มีหลักว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้” และ มาตรา 212 ว.1 มีหลักว่า “ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยมาตรา 5 และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ในระหว่างนั้น ให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้ แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” ตามปัญหา กฎกระทรวง และพระราชกฤษฎีกา เป็น “กฎหมายลำดับรอง” ที่ออกโดยฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้มีอำนาจ) ตามอำนาจที่กฎหมายบัญญัติไว้ กฎกระทรวงและพระราชกฤษฎีกาไม่ใช่กฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาตามกระบวนการนิติบัญญัติ จึงไม่ใช่บทบัญญัติของกฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ดังนั้น แม้คู่ความจะโต้แย้งว่ากฎกระทรวงหรือพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลก็ไม่จำเป็นต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
 
# คำศัพท์ที่น่าสนใจ
- กฎกระทรวง (Ministerial Regulations)
- พระราชกฤษฎีกา (Royal Decrees)
- กฎหมายลำดับรอง (Subordinate legislation)
 
📚 อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย

บทความอื่นๆ