การด่าหรือใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยระบุชื่อเพียง “อักษรย่อ” จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่
การด่าหรือใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยระบุชื่อเพียง “อักษรย่อ” จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่
556 Views
การจะกล่าวถึงพฤติกรรมหรือการกระทำของใครคนใดคนหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจทำให้บุคคลนั้นได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ เมื่อคำขอโทษ หรือยารักษาโรคไม่อาจรักษาความรู้สึกที่ดีได้ ปัจจุบันผู้ที่เสียหายจึงมักจะรับคำขอโทษเป็น “เงินสดเท่านั้น” จึงมีคำถามว่า การด่าหรือใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยระบุชื่อเพียง “อักษรย่อ” จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่
“อักษรย่อ” (คำย่อ หรือ รัสพจน์) นั้น เป็นการนำอักษรบางตัวในคำหนึ่งๆ มาใช้แทนคำเต็ม โดยมากจะเป็นพยัญชนะเพียงตัวเดียว และอาจใส่จุดหรือเครื่องหมายมหัพภาค ( . ) หรือไม่ใส่หลังอักษรนั้นๆ ก็ได้ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 นั้น จะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การระบุชื่อเพียงอักษรย่อซึ่งบุคคลทั่วไปที่อ่านหรือรับทราบข้อความไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าอักษรย่อหมายความถึงบุคคลใด และเป็นเรื่องจริงตามที่กล่าวหรือไม่ หากต้องการรู้ความหมายว่าเป็นบุคคลใดก็ต้องไปสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติม ทั้งไม่แน่ว่าหลังจากสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมแล้วจะเป็นบุคคลนั้นจริงหรือไม่ และหากหลังจากสืบเสาะค้นหาแล้วจึงทราบว่าหมายความถึงบุคคลใดก็มิใช่ทราบจากข้อความที่มีการกล่าวถึง แต่ทราบจากการที่บุคคลผู้นั้นได้สืบเสาะค้นหาข้อเท็จจริงมาเองในภายหลัง จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2551)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
“อักษรย่อ” (คำย่อ หรือ รัสพจน์) นั้น เป็นการนำอักษรบางตัวในคำหนึ่งๆ มาใช้แทนคำเต็ม โดยมากจะเป็นพยัญชนะเพียงตัวเดียว และอาจใส่จุดหรือเครื่องหมายมหัพภาค ( . ) หรือไม่ใส่หลังอักษรนั้นๆ ก็ได้ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 นั้น จะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การระบุชื่อเพียงอักษรย่อซึ่งบุคคลทั่วไปที่อ่านหรือรับทราบข้อความไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าอักษรย่อหมายความถึงบุคคลใด และเป็นเรื่องจริงตามที่กล่าวหรือไม่ หากต้องการรู้ความหมายว่าเป็นบุคคลใดก็ต้องไปสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติม ทั้งไม่แน่ว่าหลังจากสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมแล้วจะเป็นบุคคลนั้นจริงหรือไม่ และหากหลังจากสืบเสาะค้นหาแล้วจึงทราบว่าหมายความถึงบุคคลใดก็มิใช่ทราบจากข้อความที่มีการกล่าวถึง แต่ทราบจากการที่บุคคลผู้นั้นได้สืบเสาะค้นหาข้อเท็จจริงมาเองในภายหลัง จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2551)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ