อายุความเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากญาติผู้ที่ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทนผู้ป่วย
อายุความเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากญาติผู้ที่ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทนผู้ป่วย
81 Views

🏥 เป็นที่ทราบกันดีว่าโรงพยาบาลมักจะให้ผู้ป่วยและญาติลงลายมือชื่อยินยอมชำระค่ารักษาพยาบาลในเอกสารก่อนรับการรักษา เช่น แบบฟอร์มยินยอมชำระค่ารักษาพยาบาล หรือหนังสือขอรับบริการเป็นพิเศษของผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง เมื่อไม่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมหรือสิทธิประเภทอื่นได้ มีคำถามว่า อายุความเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากญาติผู้ที่ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทนผู้ป่วย มีอายุความกี่ปี แอดมินมีคำตอบครับ 😎
📌 ป.พ.พ.มาตรา 193/30 มีหลักว่า “อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนด 10 ปี” ส่วนมาตรา 193/34 มีหลักว่า “สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความ 2 ปี (11) เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบาล เรียกเอาค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ หรือค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป” การที่ญาติของผู้ป่วยลงลายมือชื่อในช่องผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทนผู้ป่วย หมายความว่าญาติตกลงยินยอมรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทนผู้ป่วยในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น มิใช่ในฐานะบุคคลภายนอกที่ยินยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยค้างชำระต่อโรงพยาบาล จึงไม่ใช่กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ที่มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะซึ่งจะต้องใช้อายุความ 10 ปี 💊แต่เป็นกรณีที่สถานพยาบาลใช้สิทธิเรียกร้องให้ญาติรับผิดในมูลหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่ญาติทำสัญญารับผิดชอบ สิทธิเรียกร้องของโรงพยาบาลในกรณีดังกล่าวนี้จึงมีอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (11) โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลมีใบแจ้งหนี้ถึงญาติให้ชำระค่ารักษาพยาบาล 💌
⚖️ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2567) 👨🏼⚖️🧑🏽⚖️👩🏻⚖️
🎙️สรุปประเด็นสำคัญ 💬
1. ญาติผู้ลงนามรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทนผู้ป่วยมีฐานะเป็น “ลูกหนี้ชั้นต้น” และสิทธิเรียกร้องของโรงพยาบาลต่อญาติมีอายุความ 2 ปี
2. อายุความ 10 ปี จะใช้กับกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ เช่น การที่ผู้บริโภคใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาให้บริการทางการแพทย์ (ตามนัยตำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2566) เป็นต้น
📚 อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย
📌 ป.พ.พ.มาตรา 193/30 มีหลักว่า “อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนด 10 ปี” ส่วนมาตรา 193/34 มีหลักว่า “สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความ 2 ปี (11) เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบาล เรียกเอาค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ หรือค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป” การที่ญาติของผู้ป่วยลงลายมือชื่อในช่องผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทนผู้ป่วย หมายความว่าญาติตกลงยินยอมรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทนผู้ป่วยในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น มิใช่ในฐานะบุคคลภายนอกที่ยินยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยค้างชำระต่อโรงพยาบาล จึงไม่ใช่กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ที่มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะซึ่งจะต้องใช้อายุความ 10 ปี 💊แต่เป็นกรณีที่สถานพยาบาลใช้สิทธิเรียกร้องให้ญาติรับผิดในมูลหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่ญาติทำสัญญารับผิดชอบ สิทธิเรียกร้องของโรงพยาบาลในกรณีดังกล่าวนี้จึงมีอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (11) โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลมีใบแจ้งหนี้ถึงญาติให้ชำระค่ารักษาพยาบาล 💌
⚖️ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2567) 👨🏼⚖️🧑🏽⚖️👩🏻⚖️
🎙️สรุปประเด็นสำคัญ 💬
1. ญาติผู้ลงนามรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทนผู้ป่วยมีฐานะเป็น “ลูกหนี้ชั้นต้น” และสิทธิเรียกร้องของโรงพยาบาลต่อญาติมีอายุความ 2 ปี
2. อายุความ 10 ปี จะใช้กับกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ เช่น การที่ผู้บริโภคใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาให้บริการทางการแพทย์ (ตามนัยตำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2566) เป็นต้น
📚 อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย