การทำเอกสารสัญญาโดยใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลาง และลงชื่อคู่สัญญา จะถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนาเอกสารซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังหรือไม่
การทำเอกสารสัญญาโดยใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลาง และลงชื่อคู่สัญญา จะถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนาเอกสารซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังหรือไม่
1196 Views
กระดาษคาร์บอน หรือกระดาษก๊อปปี้ คือกระดาษที่ถูกเคลือบด้วยหมึกเพื่อให้สามารถคัดลอกข้อความไปยังกระดาษแผ่นต่อไปได้ โดยอาศัยแรงกดผ่านกระดาษที่เคลือบให้สีของกระดาษติดลงไปกับกระดาษที่ถูกนำมาวางรองนั้นเอง แม้ว่าปัจจุบันความนิยมในการใช้กระดาษคาร์บอนจะลดลง แต่ก็ยังคงเป็นอุปกรณ์สำนักงานที่เราพอจะเห็นได้อยู่บ้าง จึงมีคำถามว่า การทำเอกสารสัญญาโดยใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลาง และลงชื่อคู่สัญญา จะถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนาเอกสารซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังหรือไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 93 มีหลักว่า “การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น.....” การที่ทำเอกสารโดยใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลางในลักษณะเช่นนี้ ย่อมเห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์จะให้ถือเอาเอกสารฉบับล่างเป็นคู่ฉบับของเอกสารฉบับบนโดยไม่ถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนา เพราะมิใช่ข้อความที่คัดลอกหรือถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับ แต่ได้ทำขึ้นพร้อมกับฉบับบนหรือต้นฉบับเพื่อใช้เป็นหนังสือสัญญา 2 ฉบับ จึงมีผลเท่ากับเป็นต้นฉบับด้วย ดังนี้ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2541)
ป.วิ.พ.มาตรา 93 มีหลักว่า “การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น.....” การที่ทำเอกสารโดยใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลางในลักษณะเช่นนี้ ย่อมเห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์จะให้ถือเอาเอกสารฉบับล่างเป็นคู่ฉบับของเอกสารฉบับบนโดยไม่ถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนา เพราะมิใช่ข้อความที่คัดลอกหรือถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับ แต่ได้ทำขึ้นพร้อมกับฉบับบนหรือต้นฉบับเพื่อใช้เป็นหนังสือสัญญา 2 ฉบับ จึงมีผลเท่ากับเป็นต้นฉบับด้วย ดังนี้ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2541)