การที่ลูกจ้างเดินทางจากบ้านไปที่ทำงาน แต่ประสบอุบัติเหตุได้รับอันตรายแก่กายหรือถึงแก่ความตาย อยู่ในความหมายของคำว่า “ประสบอันตราย” ตามความหมายของ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 หรือไม่
การที่ลูกจ้างเดินทางจากบ้านไปที่ทำงาน แต่ประสบอุบัติเหตุได้รับอันตรายแก่กายหรือถึงแก่ความตาย อยู่ในความหมายของคำว่า “ประสบอันตราย” ตามความหมายของ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 หรือไม่
299 Views
คำว่า “เงินทดแทน” ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 หมายความว่า เงินที่จ่ายเป็นค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ ส่วนคำว่า “ค่าทดแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 สำหรับการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือสูญหายของลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างจะต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ประสบเคราะห์กรรมหรืออุบัติเหตุจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ตามปัญหา การที่ลูกจ้างออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ยังที่ทำงานและประสบอุบัติเหตุได้รับอันตรายแก่กายหรือถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางนั้น ลูกจ้างยังเดินทางไปไม่ถึงสถานที่ที่จะเริ่มต้นทำงาน และยังมิได้ลงมือทำงานให้แก่นายจ้าง อันจะถือว่าลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างหรือเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง กรณีนี้จึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายตามความหมายของ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 # รวมถึงกรณีเดินทางกลับบ้านหลังเลิกงานด้วย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2522 และ 3/2543)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2522 และ 3/2543)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ