ลูกจ้างรายเดือนแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วันตามข้อบังคับการทำงาน แต่วันสุดท้ายเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ จึงมาทำงานจริงวันสุดท้ายคือวันศุกร์ แต่ก็กลับใช้สิทธิลาป่วย นายจ้างจะมีสิทธิหักเงินลูกจ้างหรือไม่
ลูกจ้างรายเดือนแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วันตามข้อบังคับการทำงาน แต่วันสุดท้ายเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ จึงมาทำงานจริงวันสุดท้ายคือวันศุกร์ แต่ก็กลับใช้สิทธิลาป่วย นายจ้างจะมีสิทธิหักเงินลูกจ้างหรือไม่
1611 Views
โดยทั่วไปนายจ้างมักจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการลาออกของลูกจ้างไว้ในข้อบังคับการทำงานว่าจะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ทั้งนี้ เพื่อให้นายจ้างมีเวลาในการเตรียมหาคนที่เหมาะสมมาทำงานแทนลูกจ้างที่ลาออกไป จึงมีคำถามว่า ลูกจ้างรายเดือนแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วันตามข้อบังคับการทำงาน แต่วันสุดท้ายเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ จึงมาทำงานจริงวันสุดท้ายคือวันศุกร์ แต่ก็กลับใช้สิทธิลาป่วย นายจ้างจะมีสิทธิหักเงินลูกจ้างหรือไม่
การที่ลูกจ้างแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วันตามข้อบังคับการทำงาน แต่วันสุดท้ายเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ย่อมหมายความว่าในวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์นั้น ลูกจ้างยังคงมีสถานภาพการเป็นลูกจ้างของนายจ้างอยู่ตลอดจนครบระยะเวลา การที่ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงานในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ก็เนื่องมาจากนายจ้างได้จัดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ ซึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 28 ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน โดยกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตามมาตรา 56 แม้ในความเป็นจริงลูกจ้างจะมาทำงานวันสุดท้ายคือวันศุกร์ และแม้ในวันศุกร์ที่ลูกจ้างจะต้องมาทำงานแต่กลับใช้สิทธิลาป่วย นายจ้างก็ยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างจนเต็มจำนวน ทั้งนี้ ตามมาตรา 57 ซึ่งกำหนดว่า ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วย นายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักเงินลูกจ้างแต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7646/2542 และ 9473/2558)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
การที่ลูกจ้างแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วันตามข้อบังคับการทำงาน แต่วันสุดท้ายเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ย่อมหมายความว่าในวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์นั้น ลูกจ้างยังคงมีสถานภาพการเป็นลูกจ้างของนายจ้างอยู่ตลอดจนครบระยะเวลา การที่ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงานในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ก็เนื่องมาจากนายจ้างได้จัดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ ซึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 28 ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน โดยกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตามมาตรา 56 แม้ในความเป็นจริงลูกจ้างจะมาทำงานวันสุดท้ายคือวันศุกร์ และแม้ในวันศุกร์ที่ลูกจ้างจะต้องมาทำงานแต่กลับใช้สิทธิลาป่วย นายจ้างก็ยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างจนเต็มจำนวน ทั้งนี้ ตามมาตรา 57 ซึ่งกำหนดว่า ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วย นายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักเงินลูกจ้างแต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7646/2542 และ 9473/2558)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ