คำว่า “จิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน” นั้น มีความหมายอย่างไร
คำว่า “จิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน” นั้น มีความหมายอย่างไร
895 Views
เนื่องจาก ป.อ.มาตรา 65 มีหลักว่า “ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” จึงมีคำถามว่า คำว่า “จิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน” นั้น มีความหมายอย่างไร
กฎหมายไทยไม่มีการกำหนดคำนิยามของคำว่า “จิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน” ไว้อย่างชัดแจ้ง การตีความจึงต้องพิจารณาจากความเห็นของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ และแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีต่าง ๆ เป็นหลัก สำหรับคำว่า “จิตบกพร่อง (Mental Deficiency)” นั้น หมายถึง ความผิดปกติที่เกิดจากสมองพัฒนาไม่สมวัยหรือถดถอยลง ซึ่งใกล้เคียงกับภาวะบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา หรือโรคปัญญาอ่อน และภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ส่วนคำว่า “โรคจิต (Psychosis)” หมายถึง โรคทางจิตใจที่มีความผิดปกติของความรู้สึก ความคิด การตอบสนองทางอารมณ์ ความสามารถในการตระหนักรู้ความเป็นจริงหรือการมีพฤติกรรมอย่างรุนแรงถึงขนาดควบคุมสติไม่อยู่ เช่น มีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน เป็นต้น และคำว่า “จิตฟั่นเฟือน (Mental Disorder หรือ Mental Infirmity)” นั้น หมายถึง ภาวะความแปรปรวนทางจิตใจหรือความผิดปกติทางจิตที่ยังไม่รุนแรงถึงขั้นที่กฎหมายจะถือว่าวิกลจริต
# ภาวะ “จิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน” คือ โรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง
# สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ป่วยจิตเวชนั้น มิได้มีแต่เฉพาะกฎหมายอาญาเท่านั้น แต่ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ด้วย เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 และ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 เป็นต้น
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
กฎหมายไทยไม่มีการกำหนดคำนิยามของคำว่า “จิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน” ไว้อย่างชัดแจ้ง การตีความจึงต้องพิจารณาจากความเห็นของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ และแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีต่าง ๆ เป็นหลัก สำหรับคำว่า “จิตบกพร่อง (Mental Deficiency)” นั้น หมายถึง ความผิดปกติที่เกิดจากสมองพัฒนาไม่สมวัยหรือถดถอยลง ซึ่งใกล้เคียงกับภาวะบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา หรือโรคปัญญาอ่อน และภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ส่วนคำว่า “โรคจิต (Psychosis)” หมายถึง โรคทางจิตใจที่มีความผิดปกติของความรู้สึก ความคิด การตอบสนองทางอารมณ์ ความสามารถในการตระหนักรู้ความเป็นจริงหรือการมีพฤติกรรมอย่างรุนแรงถึงขนาดควบคุมสติไม่อยู่ เช่น มีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน เป็นต้น และคำว่า “จิตฟั่นเฟือน (Mental Disorder หรือ Mental Infirmity)” นั้น หมายถึง ภาวะความแปรปรวนทางจิตใจหรือความผิดปกติทางจิตที่ยังไม่รุนแรงถึงขั้นที่กฎหมายจะถือว่าวิกลจริต
# ภาวะ “จิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน” คือ โรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง
# สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ป่วยจิตเวชนั้น มิได้มีแต่เฉพาะกฎหมายอาญาเท่านั้น แต่ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ด้วย เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 และ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 เป็นต้น
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ