การไม่ประทับตราบริษัทกับความผูกพันของนิติบุคคล
การไม่ประทับตราบริษัทกับความผูกพันของนิติบุคคล
1242 Views
หนังสือซึ่งมีข้อความว่า “ขอความกรุณาจากท่านช่วยลดราคาลงให้อีกบ้างตามควร พร้อมทั้งขอผ่อนผันการชำระค่าอุปกรณ์บันไดทางเลื่อนเป็นรายเดือนต่อไป” ถือเป็นการรับสภาพหนี้หรือไม่ และการที่กรรมการซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนลงลายมือชื่อในกระดาษหัวจดหมายของบริษัท แต่มิได้ประทับตราบริษัท หนังสือดังกล่าวจะมีผลผูกพันบริษัทตามกฎหมายหรือไม่
ข้อความในหนังสือที่ว่า “ขอความกรุณาจากท่านช่วยลดราคาลงให้อีกบ้างตามควร พร้อมทั้งขอผ่อนผันการชำระค่าอุปกรณ์บันไดทางเลื่อนเป็นรายเดือนต่อไป” ถือเป็นการกระทำการใด ๆ ของลูกหนี้อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับตามสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นการรับสภาพหนี้แล้ว แม้เงื่อนไขการลงนามผูกพันของนิติบุคคลจะกำหนดให้ต้องมีการประทับตราสำคัญของบริษัท แต่การที่กรรมการซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนลงลายมือชื่อในหนังสือดังกล่าวซึ่งมีชื่อของบริษัทที่ด้านบนของกระดาษ ถือว่ากรรมการดังกล่าวเป็นตัวแทนเชิดของบริษัทตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 จึงเป็นการกระทำของบริษัท ซึ่งแม้จะมิได้มีการประทับตราบริษัท หนังสือดังกล่าวก็มีผลผูกพันตามกฎหมาย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2550)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ข้อความในหนังสือที่ว่า “ขอความกรุณาจากท่านช่วยลดราคาลงให้อีกบ้างตามควร พร้อมทั้งขอผ่อนผันการชำระค่าอุปกรณ์บันไดทางเลื่อนเป็นรายเดือนต่อไป” ถือเป็นการกระทำการใด ๆ ของลูกหนี้อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับตามสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นการรับสภาพหนี้แล้ว แม้เงื่อนไขการลงนามผูกพันของนิติบุคคลจะกำหนดให้ต้องมีการประทับตราสำคัญของบริษัท แต่การที่กรรมการซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนลงลายมือชื่อในหนังสือดังกล่าวซึ่งมีชื่อของบริษัทที่ด้านบนของกระดาษ ถือว่ากรรมการดังกล่าวเป็นตัวแทนเชิดของบริษัทตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 จึงเป็นการกระทำของบริษัท ซึ่งแม้จะมิได้มีการประทับตราบริษัท หนังสือดังกล่าวก็มีผลผูกพันตามกฎหมาย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2550)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ