หากนิติบุคคลถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนจะมีผลต่อคดีอาญาหรือไม่
หากนิติบุคคลถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนจะมีผลต่อคดีอาญาหรือไม่
754 Views
การที่นายทะเบียนขีดชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นผู้ต้องหาออกจากทะเบียนทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับหรือไม่ และหากความปรากฏในชั้นพนักงานอัยการ พนักงานอัยการจะต้องมีคำสั่งอย่างไร
เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องหา ถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้ว ดังนั้น ผู้ต้องหาจึงมีสถานะเป็นห้างหุ้นส่วนร้าง ตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 1273/3 มีผลให้ผู้ต้องหาสิ้นสภาพบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียน ส่วนที่ ป.พ.พ.มาตรา 1273/3 กำหนดว่า แต่ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นมีอยู่เท่าไรก็ให้คงมีอยู่อย่างนั้นและพึงเรียกบังคับได้เสมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นยังมิได้สิ้นสภาพนิติบุคคล และมาตรา 1249 กำหนดว่า ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้น ยังมีความรับผิดทางแพ่ง และถือว่ายังคงตั้งอยู่เท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น มิได้หมายความว่ายังคงมีสภาพนิติบุคคลอันจะต้องรับผิดทางอาญาแต่อย่างใด เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้ต้องหาสิ้นสภาพบุคคล สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(1) และเป็นเงื่อนไขระงับคดีตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 7, 54 ว.2(1) ประกอบ ข้อ 7 จึงเป็นกรณีที่พนักงานอัยการต้องมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีกับผู้ต้องหา โดยไม่ต้องออกคำสั่งไม่ฟ้อง
(เทียบเคียงคำชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 1055/2560)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องหา ถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้ว ดังนั้น ผู้ต้องหาจึงมีสถานะเป็นห้างหุ้นส่วนร้าง ตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 1273/3 มีผลให้ผู้ต้องหาสิ้นสภาพบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียน ส่วนที่ ป.พ.พ.มาตรา 1273/3 กำหนดว่า แต่ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นมีอยู่เท่าไรก็ให้คงมีอยู่อย่างนั้นและพึงเรียกบังคับได้เสมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นยังมิได้สิ้นสภาพนิติบุคคล และมาตรา 1249 กำหนดว่า ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้น ยังมีความรับผิดทางแพ่ง และถือว่ายังคงตั้งอยู่เท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น มิได้หมายความว่ายังคงมีสภาพนิติบุคคลอันจะต้องรับผิดทางอาญาแต่อย่างใด เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้ต้องหาสิ้นสภาพบุคคล สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(1) และเป็นเงื่อนไขระงับคดีตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 7, 54 ว.2(1) ประกอบ ข้อ 7 จึงเป็นกรณีที่พนักงานอัยการต้องมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีกับผู้ต้องหา โดยไม่ต้องออกคำสั่งไม่ฟ้อง
(เทียบเคียงคำชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 1055/2560)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ