การจอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านของผู้อื่น ผู้ขับขี่จะมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือไม่
การจอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านของผู้อื่น ผู้ขับขี่จะมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือไม่
433 Views
ปัญหาของผู้ที่อยู่อาศัยในตึกแถวหรือทาวน์เฮาส์ประการหนึ่ง คือเรื่องของพื้นที่จอดรถหน้าบ้านที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้มักจะมีรถของเพื่อนบ้าน ญาติ เพื่อนหรือผู้อื่นซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเพื่อนบ้าน มาจอดรถขวางทางเข้า-ออก จนทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและเป็นภาระในการต้องแจ้งเพื่อนบ้านให้ช่วยขยับรถ เมื่อต้องการนำรถออกจากบ้านของตนเอง นานเข้าจากการถ้อยทีถ้อยอาศัยให้อภัยซึ่งกันและกันก็กลับกลายเป็นมีปากเสียงและทะเลาะกันในที่สุด จนกลายเป็นคดีพิพาทเรื่องหนึ่งขึ้นสู่ศาลฎีการะหว่างเจ้าของบ้านกับผู้ขับขี่ที่นำรถมาจอดแล้วไม่ยอมขยับออกทำให้เจ้าของบ้านถอยรถออกจากบ้านไม่ได้ในข้อหาหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง จึงมีคำถามว่า การจอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านของผู้อื่น ผู้ขับขี่จะมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือไม่
ป.อ.มาตรา 310 ว.1 มีหลักว่า “ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ส่วนมาตรา 397 ว.2 มีหลักว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญโดยเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น การที่ผู้ขับขี่จอดรถขวางทางเข้า-ออกทำให้เจ้าของบ้านถอยรถออกจากบ้านไม่ได้ เป็นเพียงการขัดขวางไม่ให้เจ้าของบ้านสามารถนำรถออกไปได้เท่านั้น ส่วนตัวเจ้าของบ้านนั้นยังคงมีอิสระที่จะออกไปจากบ้านได้ การกระทำของผู้ขับขี่ยังไม่เป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 310 แต่การกระทำดังกล่าว เป็นการรังแกข่มเหงทำให้เจ้าของบ้านได้รับความเดือดร้อนรำคาญ จึงต้องมีความผิดตามป.อ. มาตรา 397 และยังถือเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55(6) ประกอบมาตรา 148 ซึ่งมีหลักว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถตรงปากทางเข้า-ออกของอาคาร หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท อีกด้วย อย่างไรก็ดี หากการหยุดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านของผู้อื่นดังกล่าวเกิดจากเหตุจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เครื่องยนต์ หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง ผู้ขับขี่ย่อมไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2518)
ป.อ.มาตรา 310 ว.1 มีหลักว่า “ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ส่วนมาตรา 397 ว.2 มีหลักว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญโดยเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น การที่ผู้ขับขี่จอดรถขวางทางเข้า-ออกทำให้เจ้าของบ้านถอยรถออกจากบ้านไม่ได้ เป็นเพียงการขัดขวางไม่ให้เจ้าของบ้านสามารถนำรถออกไปได้เท่านั้น ส่วนตัวเจ้าของบ้านนั้นยังคงมีอิสระที่จะออกไปจากบ้านได้ การกระทำของผู้ขับขี่ยังไม่เป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 310 แต่การกระทำดังกล่าว เป็นการรังแกข่มเหงทำให้เจ้าของบ้านได้รับความเดือดร้อนรำคาญ จึงต้องมีความผิดตามป.อ. มาตรา 397 และยังถือเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55(6) ประกอบมาตรา 148 ซึ่งมีหลักว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถตรงปากทางเข้า-ออกของอาคาร หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท อีกด้วย อย่างไรก็ดี หากการหยุดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านของผู้อื่นดังกล่าวเกิดจากเหตุจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เครื่องยนต์ หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง ผู้ขับขี่ย่อมไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2518)