สถานที่ติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้
สถานที่ติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้
272 Views
พนักงานภาคสนามของธนาคารพบตัวลูกค้าซึ่งเป็นลูกหนี้โดยบังเอิญบริเวณหน้าร้านอาหารที่ห้างสรรพสินค้าในเวลา 13.00 น. หากในวันดังกล่าว ธนาคารยังไม่ได้มีการติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ จะสามารถทวงถามหนี้กับลูกค้าคนดังกล่าวได้หรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 9 มีหลักว่า “การทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) สถานที่ติดต่อ ในกรณีที่ติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้า หรือสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ไม่สามารถติดต่อได้ โดยผู้ทวงถามหนี้ได้พยายามติดต่อตามสมควรแล้ว ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของบุคคลดังกล่าว หรือสถานที่อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (2) เวลาในการติดต่อ การติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา 8.00 น. ถึง 20.00 น. และในวันหยุดราชการ เวลา 8.00 น. ถึง 18.00 น. หากไม่สามารถติดต่อตามเวลาดังกล่าวได้ หรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม ให้ติดต่อได้ในช่วงเวลาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (3) จำนวนครั้งที่ติดต่อ ในช่วงเวลาตาม (2) ให้ติดต่อตามจำนวนครั้งที่เหมาะสม และคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดจำนวนครั้งด้วยก็ได้ (ซึ่งคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ ได้ออกประกาศให้ผู้ทวงถามหนี้ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้ทราบการทวงถามหนี้ ไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน) (4)...” จากหลักเกณฑ์ข้างต้น การพบตัวลูกค้าโดยบังเอิญในเวลา 13.00 น. แม้ในวันดังกล่าว ธนาคารจะยังไม่ได้มีการติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ และอยู่ในช่วงเวลาที่ผู้ทวงถามหนี้อาจติดต่อได้ตามมาตรา 9 (2) และ (3) แห่ง พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ก็ตาม แต่บริเวณหน้าร้านอาหารที่ห้างสรรพสินค้าไม่ใช่สถานที่ติดต่อที่ลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อตามมาตรา 9 (1) แต่อย่างใด กรณีดังกล่าวนี้ พนักงานภาคสนามของธนาคารจึงไม่สามารถทวงถามหนี้กับลูกค้าได้
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 9 มีหลักว่า “การทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) สถานที่ติดต่อ ในกรณีที่ติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้า หรือสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ไม่สามารถติดต่อได้ โดยผู้ทวงถามหนี้ได้พยายามติดต่อตามสมควรแล้ว ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของบุคคลดังกล่าว หรือสถานที่อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (2) เวลาในการติดต่อ การติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา 8.00 น. ถึง 20.00 น. และในวันหยุดราชการ เวลา 8.00 น. ถึง 18.00 น. หากไม่สามารถติดต่อตามเวลาดังกล่าวได้ หรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม ให้ติดต่อได้ในช่วงเวลาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (3) จำนวนครั้งที่ติดต่อ ในช่วงเวลาตาม (2) ให้ติดต่อตามจำนวนครั้งที่เหมาะสม และคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดจำนวนครั้งด้วยก็ได้ (ซึ่งคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ ได้ออกประกาศให้ผู้ทวงถามหนี้ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้ทราบการทวงถามหนี้ ไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน) (4)...” จากหลักเกณฑ์ข้างต้น การพบตัวลูกค้าโดยบังเอิญในเวลา 13.00 น. แม้ในวันดังกล่าว ธนาคารจะยังไม่ได้มีการติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ และอยู่ในช่วงเวลาที่ผู้ทวงถามหนี้อาจติดต่อได้ตามมาตรา 9 (2) และ (3) แห่ง พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ก็ตาม แต่บริเวณหน้าร้านอาหารที่ห้างสรรพสินค้าไม่ใช่สถานที่ติดต่อที่ลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อตามมาตรา 9 (1) แต่อย่างใด กรณีดังกล่าวนี้ พนักงานภาคสนามของธนาคารจึงไม่สามารถทวงถามหนี้กับลูกค้าได้
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ